admin advanced law

หน้า: ()  1 ...  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> คำมั่นจะให้เช่า มีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่
โดย admin advanced law - จันทร์, 24 มิถุนายน 2013, 04:09PM
 
คำมั่นจะให้เช่า มีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ สับสน

คำมั่นจะให้เช่า จะผูกพันผู้ให้เช่าตลอดไปหรือไม่ แปลกใจ

คำมั่นจะให้เช่า ตกลงถอนคำมั่นกันได้หรือไม่ ช่างคิด

สัญญาเช่า ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับเจ้าพนักงาน คำมั่นจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนด้วยหรือไม่ เศร้า

ว่าด้วยเรื่องคำมั่นจะให้เช่านั้น คำมั่นจะให้เช่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเหมือนเรื่องคำมั่นจะซื้อขาย
แต่คำพิพากษาศาลฎีกาก็ยอมรับว่าการเช่าทรัพย์ ก็มีคำมั่นได้

ดังนั้น ทุกคำถาม มีคำตอบอยู่ใน ฎีกาที่ 3078-3079/2552

แม้คำมั่นจะให้เช่าจะผูกพันผู้ให้เช่าในอันที่ต้องยอมให้ผู้เช่าได้เช่าทรัพย์สินต่อไปอีก
และผู้ให้เช่าไม่อาจถอนคำมั่นนั้นได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ก็มิได้ห้ามคู่สัญญา
ในอันที่จะตกลงกันยกเลิกคำมั่นนั้นเสียได้ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยตกลงยกเลิก
ข้อความในสัญญาเช่าต่างตอบแทนเกี่ยวกับคำมั่นนั้นเสียแล้ว คำมั่นดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป
โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าต่อไปภายหลังครบกำหนดเวลาเช่าได้อีก อีกทั้ง
การตกลงกันยกเลิกคำมั่นดังกล่าวก็หาใช่การที่จำเลยถอนคำมั่นเพียงฝ่ายเดียวอันจะเป็นการต้องห้าม
ชัดแจ้งโดยกฎหมายและเป็นโมฆะกรรมดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่
แม้สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม
แต่ข้อความในสัญญาเช่าต่างตอบแทน ข้อ 3 ท้ายสัญญาเช่าเป็นคำมั่นที่จำเลยให้โอกาสแก่โจทก์ในอันที่จะ
ต่อสัญญาเช่าได้อีกเท่านั้น จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่แยกต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าได้ และคำมั่นจะให้เช่านั้น
ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ระบุให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญก็มีผลใช้บังคับได้แล้ว ดังนั้นเมื่อคำมั่นจะให้เช่า
ไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นกัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> จ้างก่อสร้าง, จ้างว่าความ ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกันไว้ จะฟ้องคดีได้หรือไม่?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 09:45PM
 
จ้างก่อสร้าง, จ้างว่าความ, จ้างทำของ ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกันไว้ จะฟ้องคดีได้หรือไม่?
-
ว่าจ้างให้ทำการก่อสร้าง หรือการจ้างว่าความ ล้วนแต่เป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ดังนั้น สัญญาจ้างทำของ จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
-
ฎีกาที่ 4687/2553

ข้อตกลงจ้างเหมาแก้ไขต่อเติมบ้านที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ไม่ทำเป็นเอกสารก็สมบูรณ์
หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่ เมื่อโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ด้วยวาจาที่จังหวัดนครสวรรค์ สัญญาย่อมเกิดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ทั้งตามฟ้องก็ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ฟ้องแย้ง คืออะไร?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 09:18PM
 
ฟ้องแย้ง คืออะไร?
-
คำตอบ คือ ฟ้องแย้งก็คือคำฟ้องอย่างหนึ่งนั่นเอง แต่เป็นคำฟ้องที่ฟ้องมาในคำให้การ เนื่องจาก ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
กำหนดว่า จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้อง
เป็นคดีต่างหาก
-
เมื่อฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1(3) จำเลยซึ่งฟ้องแย้งจะต้องมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ด้วย
คือ ต้องมีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ทางแพ่งกัน และฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม (ดูฎีกา ที่ 64/2555 )

ฎีกาที่ 64/2555

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย
หากข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยก็จะต้องรื้อถอนบ้านส่วนที่รุกล้ำออกไปและไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่
อ้างว่าโจทก์ขัดขวางห้ามปรามการก่อสร้างต่อเติมบ้านของจำเลย หากข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินเป็นของจำเลย จึงจะมีข้อพิจารณาต่อไป
ว่าการที่โจทก์ขัดขวางห้ามปรามการก่อสร้างต่อเติมบ้านจำเลย จะเป็นละเมิดและมีความเสียหายต่อจำเลยหรือไม่เพียงใด ความเสียหาย
ตามฟ้องแย้งของจำเลยจะเกิดมีขึ้นได้ก็โดยอาศัยผลคดีนี้เป็นสำคัญหากยังไม่ปรากฏผลคดีนี้ข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลย
จึงยังไม่เกิดขึ้น จำเลยยังไม่อาจนำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

ฎีกาที่ 2504/2554

โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นชู้กับจำเลยที่ 2 พร้อมเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1523 ซึ่งเป็นเรื่องการสิ้นสุดแห่งการสมรส ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ว่า โจทก์เอาความเท็จมาฟ้องร้องดำเนินคดี
แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริตและการที่โจทก์ไปร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ทางวินัยและหากคณะกรรมการหลงเชื่อจะทำให้จำเลยที่ 2 ถูกออกจากงานและเสื่อมเสียชื่อเสียงจึงให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเป็น
คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่ได้อาศัยเหตุแห่งการหย่าและการเรียกค่าทดแทนตามฟ้องเดิมเป็นมูลหนี้แต่เป็นการอ้างการกระทำ
อีกตอนหนึ่งของโจทก์อันเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและ
วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> เรียกค่าว่าความ โดยคิดราคาจากทรัพย์ที่จะได้มาจากการชนะคดี ได้หรือไม่?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 08:44PM
 
Q: เรียกค่าว่าความ โดยคิดราคาจากทรัพย์ที่จะได้มาจากการชนะคดี ได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่ได้ ข้อตกลงเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2554

ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับตามบันทึกคำมั่นจะให้รางวัลเกิดจากการว่าความให้จำเลยทั้งสามจนชนะคดี
จึงเป็นการกำหนดค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างว่าความปกติตามสัญญาว่าจ้างว่าความ แม้จำเลย
ทั้งสามทำบันทึกให้โจทก์หลังจากทำสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวแล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลลบล้างลักษณะของนิติกรรมที่
จำเลยทั้งสามทำไว้แก่โจทก์ และแม้จะใช้ถ้อยคำว่าคำมั่นจะให้รางวัล ก็ไม่อาจบังคับตามตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 ได้ คำมั่นจะให้รางวัลดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่ง
ค่าตอบแทนตามบันทึกจะให้รางวัลซึ่งเป็นค่าจ้างว่าความที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับจำเลย
ทั้งสามจะได้รับทรัพย์มรดกเกินกว่า 80,000,000 บาท หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือได้รับไม่เกินกว่า
80,000,000 บาท โจทก์ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสาม มีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้าไป
มีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความไม่เหมือนกับสัญญาจ้างว่าความที่ทนายความ
พึงได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนเงินตายตัวหรือร้อยละของทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดีโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลของคดีว่าจะชนะคดี
หรือแพ้คดีอย่างไร แม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ
เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6919/2544

การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงให้เงินรายละ 400,000 บาทและ จำเลยที่ 4 ตกลงให้เงินจำนวน 300,000 บาทแก่โจทก์
เป็นค่าทนายความนั้น หมายถึงกรณีที่ฝ่ายจำเลยชนะคดีมรดกแล้วไม่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นที่ดินแต่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นเงิน
ที่ได้มาจากการขายที่ดินพิพาทนั่นเอง ซึ่งจำเลยทั้งสี่จะต้องแบ่งให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในบันทึกข้อตกลง บันทึก
ข้อตกลงจึงถือได้ว่าเป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ
เมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกความชนะคดีเท่านั้น หากจำเลยทั้งสี่ตกเป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์ย่อมไม่ได้รับส่วนแบ่งตามข้อตกลง
อันมีลักษณะเข้าทำนองซื้อขายความกัน

วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการ
ผู้ที่ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องด้วย
หลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการจรรโลง
ความยุติธรรมในสังคมทนายความจึงไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตนในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดี
จนกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลคดีโดยตรงในทำนอง
ซื้อขายความกันย่อมไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความ ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน

แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. ทนายความฯ จะมิได้กำหนดให้
การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติ
ผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญา
ระหว่างทนายความกับลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น
หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมี
ความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 08:29PM
 
Q ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
คำตอบ คือ ได้ หากได้รับอนุญาตจากศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574(12)

Q แล้วหากไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574(12) ผลเป็นอย่างไร?
คำตอบ คือ นิติกรรมที่ทำลงไปไม่ผูกพันผู้เยาว์ และถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2552
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์อันมีผลให้ผู้เยาว์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้น
เป็นการที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน
ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม
ก็ชอบที่จะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่บังคับไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) เมื่อ ช. บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์กับของ ช. โดยไม่ติดใจ
เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด
จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ ช.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพัง
โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันโจทก์
แต่ประการใด สิทธินำคดีมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงไม่ระงับไป


หน้า: ()  1 ...  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  ()