รูปภาพของadmin advanced law
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 08:29PM
 
Q ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
คำตอบ คือ ได้ หากได้รับอนุญาตจากศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574(12)

Q แล้วหากไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574(12) ผลเป็นอย่างไร?
คำตอบ คือ นิติกรรมที่ทำลงไปไม่ผูกพันผู้เยาว์ และถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2552
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์อันมีผลให้ผู้เยาว์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้น
เป็นการที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน
ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม
ก็ชอบที่จะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่บังคับไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) เมื่อ ช. บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์กับของ ช. โดยไม่ติดใจ
เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด
จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ ช.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพัง
โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันโจทก์
แต่ประการใด สิทธินำคดีมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงไม่ระงับไป