admin advanced law

หน้า: ()  1 ...  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> แค่ใช้เท้าถีบ แตะ และกระทืบเท่านั้น แต่ใครใช้มีดแทงไม่รู้ เช่นนี้เราจะรับผิดแค่ไหน?
โดย admin advanced law - พุธ, 30 เมษายน 2014, 04:00PM
 
การรับผิดในผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำย่อมต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน
แต่ผลที่จะต้องรับผิดนั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำและต้องเป็นผลธรรมดาที่ย่อมเกิดขึ้นได้
จากการกระทำของตน
ดังนั้น หากผลที่เกิดไม่ใช่ผลโดยตรงหรือผลธรรมดาที่ย่อมเกิดขึ้นได้ ผู้กระทำย่อมไม่ต้องรับผิดในผลนั้น
ฎีกาที่ 235-237/2555
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 พบผู้เสียหายโดยบังเอิญขณะผู้เสียหาย
ไปที่เกิดเหตุเพื่อรับ ป. กลับบ้าน แล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รุมถีบ เตะและ
กระทืบผู้เสียหายทันที จากนั้นจึงมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งเข้ารุมเตะและกระทืบ
ผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ลากผู้เสียหายไปรุมเตะ และกระทืบอีกที่บริเวณ
ข้างบ้านเลขที่ 35 โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายถูกอาวุธมีดแทงขณะที่จำเลยที่ 1 ที่ 2
และที่ 3 เข้ารุมทำร้ายในตอนแรกหรือหลังจากชาวบ้านเข้าร่วมรุมทำร้ายและ จึงฟัง
ไม่ได้ว่าการใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3
ทั้งการที่ชาวบ้านเข้ารุมทำร้ายผู้เสียหายด้วยนั้นก็ไม่ได้มีการสมคบหรือนัดหมาย
กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มาก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่อาจเล็งเห็น
หรือคาดหมายได้ว่าพวกที่เข้าร่วมรุมทำร้ายผู้เสียหายดังกล่าวจะมีอาวุธมีด พฤติการณ์
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เพียงแต่ใช้เท้าถีบเตะกระทืบผู้เสียหาย ยังไม่พอฟังว่า
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาฆ่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 คงมีเพียงเจตนา
ทำร้าย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันพยายาม
ฆ่าผู้อื่น
ผู้เสียหายถูกอาวุธมีดแทงที่บริเวณท้อง แพทย์ให้การรักษาโดยผ่าตัด หลังจาก
ออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องไปรักษาตัวต่อที่บ้านโดยต้องนอนพักประมาณ 2 เดือน
ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลหรือศพของแพทย์ระบุว่า ได้ผ่าตัดเย็บซ่อมลำไส้
และจุดที่มีเลือดออก บาดแผลจะหายในเวลา 3 สัปดาห์ หากไม่มีสาเหตุแทรกซ้อน
แสดงว่าเหตุที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสเพราะต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา
เกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันนั้น เกิดจาก
การที่ผู้เสียหายถูกอาวุธมีดแทง ไม่ได้เกิดจากการรุมถีบ เตะและกระทืบของจำเลย
ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดังนั้น การที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจึงไม่ได้เป็นผลโดยตรง
จากการร่วมกันทำร้ายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และไม่ได้เป็นผลที่ตามธรรมดา
ย่อมเกิดขึ้นได้จากการร่วมกันทำร้ายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 การกระทำของจำเลย
ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ ก่อนฟ้องคดีหรือไม่
โดย admin advanced law - พุธ, 10 กรกฎาคม 2013, 06:16PM
 
ฎีกาที่ 10625/2555
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้
จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ผิดนัดชำระหนี้คงให้การเพียงว่าสัญญาบัตรเครดิต
ระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลบังคับอยู่ เนื่องจากโจทก์ยังมิได้มีหนังสือบอกกล่าว
ให้จำเลยชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2522 มาตรา 34 ทวิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อการเลิกสัญญากับการผิดนัดเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน กล่าวคือหนี้ที่เกิด
จากมูลสัญญา การที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 หรืออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามมาตรา 386 ถึงมาตรา 388 ก็ได้ แล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือก มิได้หมายความว่า
หากโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์
เมื่อหนี้ที่จำเลยต้องชำระมีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยมิได้ชำระ
ตามกำหนดเวลานั้น จึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนหรือบอกกล่าวอีก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิ
ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ทำละเมิดต่อผู้เยาว์ ถือว่าทำละเมิดต่อบิดามารดาของผู้เยาว์ด้วยหรือไม่
โดย admin advanced law - พุธ, 10 กรกฎาคม 2013, 06:05PM
 
ฎีกาที่ 6232/2554

โจทก์เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย อ.จึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู
ซึ่งรวมถึงหน้าที่ในการดูแลรักษาพยาบาลเด็กชาย อ. ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ เมื่อเด็กชาย อ.
ถูกกระทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กระทำละเมิดรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้
โดยตรง ค่าใช้จ่ายอันเป็นค่าเดินทางไปดูแลอาการเด็กชาย อ. เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์
ต้องเสียไปอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 444 วรรคหนึ่ง


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> การทำคลอดผิดพลาด แพทย์ต้องรับผิดฐานละเมิด หรือไม่
โดย admin advanced law - พุธ, 10 กรกฎาคม 2013, 05:59PM
 
ฎีกาที่ 3749/2554
การประเมินสถานการณ์ทำคลอดให้โจทก์ของ ส. แพทย์เวร
ผิดพลาดซึ่งโจทก์ไม่สามารถคลอดเองโดยธรรมชาติ ส. ได้ทำคลอด
โดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถคลอดทารกออกมา
ได้ เป็นเหตุให้ทารกตกอยู่ในภาวะเครียดและถ่ายขี้เทาปนออกมาใน
น้ำครั่งจนสำลักน้ำคร่ำ ปอดแตกและสมองขาดออกซิเจนถึงแก่ความตาย
ในเวลาต่อมา ประกอบกับโจทก์อยู่ในสภาพที่พร้อมจะคลอดทารก
แต่ต้องรอการทำคลอดเป็นเวลานานกว่า 12 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับ
การดูแลเท่าที่ควร เมื่อแพทย์และพยาบาลเริ่มทำการคลอดให้โจทก์ด้วย
วิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าการให้คลอดเองโดยธรรมชาติและต่อมาโดยใช้
เครื่องดูดสุญญากาศดูดทารก ก็ไม่อาจนำทารกออกมาได้ จนต้องใช้วิธี
ผ่าตัดนำทารกออกมาและถึงแก่ความตายในที่สุด ทั้ง ๆ ที่ก่อนคลอด
สุขภาพโจทก์และทารกอยู่ในสภาพปกติเช่นนี้ ต้องถือว่าการตายของ
ทารกมีผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินการทำคลอดที่ล่าช้าเนิ่นนานเกินไป
และการเลือกใช้วิธีทำคลอดที่ไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของ
โจทก์อย่างทันท่วงที จึงเป็นการไม่ใช้ความละเอียดรอบคอบถี่ถ้วน
และความระมัดระวังตามปกติวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์และ
พยาบาลอย่างเพียงพอ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่
ในสังกัดของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชอบ

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> หลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องเขียนอย่างไร จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
โดย admin advanced law - จันทร์, 24 มิถุนายน 2013, 04:31PM
 
หลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องเขียนอย่างไร จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
-
ยักคิ้ว หลักฐานการกู้ยืม ต้องระบุวันเดือนปี ที่ทำหลักฐานหรือไม่

ฎีกาที่ 1883/2551

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
บังคับให้ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อ
ผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำเป็นว่าหลักฐานเป็นหนังสือ
นั้นต้องระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญา วันเดือนปีที่ครบกำหนดชำระและ
อัตราดอกเบี้ยไว้


ในวันทำสัญญากู้เงิน ย. ผู้เขียนสัญญาได้กรอกจำนวนเงิน
ที่กู้ตรงตามจำนวนที่โจทก์จำเลยตกลงกัน และจำเลยลงลายมือชื่อใน
ช่องผู้กู้ โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินมาฟ้องร้องบังคับคดีไต้ ส่วนการกรอก
ข้อความอื่นๆ แม้จะกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือ
จะไม่ระบุไว้เลย ก็ไม่มีผลทำให้หลักฐานการฟ้องร้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว
และบังคับแก่จำเลยได้นั้นเสียไป สัญญากู้เงินจึงไม่ใช่เอกสารปลอม


ช่างคิด แม้จะมีหลักฐานการกู้ยืม แต่หากหลักฐานนั้นไม่ชัดแจ้งว่ามีการยืมเงินกัน ก็ฟ้องคดีไม่ได้

ฎีกาที่ 14712/2551

แม้เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลย
เป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความ
แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคล
เพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืม
เงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท
(สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงิน
จำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือ
มีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการ
กู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้


เท่ หลักฐานการกู้ยืม ต้องมีขึ้นตอนไหน จึงจะฟ้องคดีได้

ฎีกาที่ 8175/2551

หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้น
อาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็น
หลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของ
ศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการ
ส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มี
หลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใด
อย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็น
การต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น




หน้า: ()  1 ...  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  ()