รูปภาพของadmin advanced law
หลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องเขียนอย่างไร จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
โดย admin advanced law - จันทร์, 24 มิถุนายน 2013, 04:31PM
 
หลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องเขียนอย่างไร จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
-
ยักคิ้ว หลักฐานการกู้ยืม ต้องระบุวันเดือนปี ที่ทำหลักฐานหรือไม่

ฎีกาที่ 1883/2551

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
บังคับให้ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อ
ผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำเป็นว่าหลักฐานเป็นหนังสือ
นั้นต้องระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญา วันเดือนปีที่ครบกำหนดชำระและ
อัตราดอกเบี้ยไว้


ในวันทำสัญญากู้เงิน ย. ผู้เขียนสัญญาได้กรอกจำนวนเงิน
ที่กู้ตรงตามจำนวนที่โจทก์จำเลยตกลงกัน และจำเลยลงลายมือชื่อใน
ช่องผู้กู้ โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินมาฟ้องร้องบังคับคดีไต้ ส่วนการกรอก
ข้อความอื่นๆ แม้จะกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือ
จะไม่ระบุไว้เลย ก็ไม่มีผลทำให้หลักฐานการฟ้องร้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว
และบังคับแก่จำเลยได้นั้นเสียไป สัญญากู้เงินจึงไม่ใช่เอกสารปลอม


ช่างคิด แม้จะมีหลักฐานการกู้ยืม แต่หากหลักฐานนั้นไม่ชัดแจ้งว่ามีการยืมเงินกัน ก็ฟ้องคดีไม่ได้

ฎีกาที่ 14712/2551

แม้เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลย
เป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความ
แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคล
เพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืม
เงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท
(สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงิน
จำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือ
มีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการ
กู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้


เท่ หลักฐานการกู้ยืม ต้องมีขึ้นตอนไหน จึงจะฟ้องคดีได้

ฎีกาที่ 8175/2551

หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้น
อาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็น
หลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของ
ศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการ
ส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มี
หลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใด
อย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็น
การต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น