admin advanced law

หน้า: ()  1 ...  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> จ้างก่อสร้าง, จ้างว่าความ ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกันไว้ จะฟ้องคดีได้หรือไม่?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 09:45PM
 
จ้างก่อสร้าง, จ้างว่าความ, จ้างทำของ ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกันไว้ จะฟ้องคดีได้หรือไม่?
-
ว่าจ้างให้ทำการก่อสร้าง หรือการจ้างว่าความ ล้วนแต่เป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ดังนั้น สัญญาจ้างทำของ จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
-
ฎีกาที่ 4687/2553

ข้อตกลงจ้างเหมาแก้ไขต่อเติมบ้านที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ไม่ทำเป็นเอกสารก็สมบูรณ์
หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่ เมื่อโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ด้วยวาจาที่จังหวัดนครสวรรค์ สัญญาย่อมเกิดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ทั้งตามฟ้องก็ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ฟ้องแย้ง คืออะไร?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 09:18PM
 
ฟ้องแย้ง คืออะไร?
-
คำตอบ คือ ฟ้องแย้งก็คือคำฟ้องอย่างหนึ่งนั่นเอง แต่เป็นคำฟ้องที่ฟ้องมาในคำให้การ เนื่องจาก ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
กำหนดว่า จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้อง
เป็นคดีต่างหาก
-
เมื่อฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1(3) จำเลยซึ่งฟ้องแย้งจะต้องมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ด้วย
คือ ต้องมีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ทางแพ่งกัน และฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม (ดูฎีกา ที่ 64/2555 )

ฎีกาที่ 64/2555

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย
หากข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยก็จะต้องรื้อถอนบ้านส่วนที่รุกล้ำออกไปและไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่
อ้างว่าโจทก์ขัดขวางห้ามปรามการก่อสร้างต่อเติมบ้านของจำเลย หากข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินเป็นของจำเลย จึงจะมีข้อพิจารณาต่อไป
ว่าการที่โจทก์ขัดขวางห้ามปรามการก่อสร้างต่อเติมบ้านจำเลย จะเป็นละเมิดและมีความเสียหายต่อจำเลยหรือไม่เพียงใด ความเสียหาย
ตามฟ้องแย้งของจำเลยจะเกิดมีขึ้นได้ก็โดยอาศัยผลคดีนี้เป็นสำคัญหากยังไม่ปรากฏผลคดีนี้ข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลย
จึงยังไม่เกิดขึ้น จำเลยยังไม่อาจนำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

ฎีกาที่ 2504/2554

โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นชู้กับจำเลยที่ 2 พร้อมเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1523 ซึ่งเป็นเรื่องการสิ้นสุดแห่งการสมรส ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ว่า โจทก์เอาความเท็จมาฟ้องร้องดำเนินคดี
แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริตและการที่โจทก์ไปร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ทางวินัยและหากคณะกรรมการหลงเชื่อจะทำให้จำเลยที่ 2 ถูกออกจากงานและเสื่อมเสียชื่อเสียงจึงให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเป็น
คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่ได้อาศัยเหตุแห่งการหย่าและการเรียกค่าทดแทนตามฟ้องเดิมเป็นมูลหนี้แต่เป็นการอ้างการกระทำ
อีกตอนหนึ่งของโจทก์อันเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและ
วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> เรียกค่าว่าความ โดยคิดราคาจากทรัพย์ที่จะได้มาจากการชนะคดี ได้หรือไม่?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 08:44PM
 
Q: เรียกค่าว่าความ โดยคิดราคาจากทรัพย์ที่จะได้มาจากการชนะคดี ได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่ได้ ข้อตกลงเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2554

ค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับตามบันทึกคำมั่นจะให้รางวัลเกิดจากการว่าความให้จำเลยทั้งสามจนชนะคดี
จึงเป็นการกำหนดค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างว่าความปกติตามสัญญาว่าจ้างว่าความ แม้จำเลย
ทั้งสามทำบันทึกให้โจทก์หลังจากทำสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวแล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลลบล้างลักษณะของนิติกรรมที่
จำเลยทั้งสามทำไว้แก่โจทก์ และแม้จะใช้ถ้อยคำว่าคำมั่นจะให้รางวัล ก็ไม่อาจบังคับตามตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 ได้ คำมั่นจะให้รางวัลดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับค่าจ้างว่าความอีกส่วนหนึ่ง
ค่าตอบแทนตามบันทึกจะให้รางวัลซึ่งเป็นค่าจ้างว่าความที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับจำเลย
ทั้งสามจะได้รับทรัพย์มรดกเกินกว่า 80,000,000 บาท หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือได้รับไม่เกินกว่า
80,000,000 บาท โจทก์ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสาม มีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้าไป
มีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความไม่เหมือนกับสัญญาจ้างว่าความที่ทนายความ
พึงได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนเงินตายตัวหรือร้อยละของทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดีโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลของคดีว่าจะชนะคดี
หรือแพ้คดีอย่างไร แม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ
เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6919/2544

การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงให้เงินรายละ 400,000 บาทและ จำเลยที่ 4 ตกลงให้เงินจำนวน 300,000 บาทแก่โจทก์
เป็นค่าทนายความนั้น หมายถึงกรณีที่ฝ่ายจำเลยชนะคดีมรดกแล้วไม่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นที่ดินแต่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นเงิน
ที่ได้มาจากการขายที่ดินพิพาทนั่นเอง ซึ่งจำเลยทั้งสี่จะต้องแบ่งให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในบันทึกข้อตกลง บันทึก
ข้อตกลงจึงถือได้ว่าเป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ
เมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกความชนะคดีเท่านั้น หากจำเลยทั้งสี่ตกเป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์ย่อมไม่ได้รับส่วนแบ่งตามข้อตกลง
อันมีลักษณะเข้าทำนองซื้อขายความกัน

วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการ
ผู้ที่ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องด้วย
หลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการจรรโลง
ความยุติธรรมในสังคมทนายความจึงไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตนในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดี
จนกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลคดีโดยตรงในทำนอง
ซื้อขายความกันย่อมไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความ ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน

แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. ทนายความฯ จะมิได้กำหนดให้
การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติ
ผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญา
ระหว่างทนายความกับลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น
หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมี
ความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
โดย admin advanced law - พุธ, 24 เมษายน 2013, 08:29PM
 
Q ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
คำตอบ คือ ได้ หากได้รับอนุญาตจากศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574(12)

Q แล้วหากไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574(12) ผลเป็นอย่างไร?
คำตอบ คือ นิติกรรมที่ทำลงไปไม่ผูกพันผู้เยาว์ และถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2552
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์อันมีผลให้ผู้เยาว์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้น
เป็นการที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน
ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม
ก็ชอบที่จะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่บังคับไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) เมื่อ ช. บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์กับของ ช. โดยไม่ติดใจ
เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด
จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ ช.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพัง
โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันโจทก์
แต่ประการใด สิทธินำคดีมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงไม่ระงับไป


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย กับ ฉ้อโกง แตกต่่างกันอย่างไร
โดย admin advanced law - จันทร์, 15 เมษายน 2013, 11:48AM
 
*** การพิจารณาว่าอย่างไรเป็นลักทรัพย์หรือฉ้อโกง *** อ.เกด จะให้ข้อสังเกตไว้ดังนี้ คือ
ให้ดูว่าได้ทรัพย์ไปอย่างไร ได้ไปจากการหลอกลวง หรือ ได้ไปจากการแย่งการครอบครอง

- หากได้ทรัพย์ไปเพราะการหลอกลวง ผิดฉ้อโกง (เจ้าของส่งมอบทรัพย์ให้โดยสมัครใจเพราะเขาถูกหลอกลวง)

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537
การที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส. และ พ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้
จาก บ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์โดยระบุโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ โดยใช้บัตรประจำตัว
ประชาชนและใบขออนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถ
ยนต์ไปจาก บ. แล้วคนร้ายไม่นำมาคืน แสดงให้เห็นว่าคนร้าย มีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง
บ. ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้าย
เป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอม มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ. หลง
เชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป
ความจริงคนร้ายแสดงตน
เป็นบุคคลอื่นและไม่มีประสงค์จะเช่ารถยนต์ การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อ
โกง ไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก

- - หากได้ทรัพย์ไปเพราะแย่งการครอบครอง ผิดลักทรัพย์ (เจ้าของไม่ได้สมัครใจส่งมอบทรัพย์ให้)

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา วินิจฉัยว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์(โดยใช้กลอุบาย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2553
จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่
จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้
เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้
เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มี
เจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย
การกระทำของจำเลยจึงเป็น
ความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่




หน้า: ()  1 ...  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  ()