รูปภาพของadmin advanced law
ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย กับ ฉ้อโกง แตกต่่างกันอย่างไร
โดย admin advanced law - จันทร์, 15 เมษายน 2013, 11:48AM
 
*** การพิจารณาว่าอย่างไรเป็นลักทรัพย์หรือฉ้อโกง *** อ.เกด จะให้ข้อสังเกตไว้ดังนี้ คือ
ให้ดูว่าได้ทรัพย์ไปอย่างไร ได้ไปจากการหลอกลวง หรือ ได้ไปจากการแย่งการครอบครอง

- หากได้ทรัพย์ไปเพราะการหลอกลวง ผิดฉ้อโกง (เจ้าของส่งมอบทรัพย์ให้โดยสมัครใจเพราะเขาถูกหลอกลวง)

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537
การที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส. และ พ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้
จาก บ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์โดยระบุโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ โดยใช้บัตรประจำตัว
ประชาชนและใบขออนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถ
ยนต์ไปจาก บ. แล้วคนร้ายไม่นำมาคืน แสดงให้เห็นว่าคนร้าย มีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง
บ. ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้าย
เป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอม มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ. หลง
เชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป
ความจริงคนร้ายแสดงตน
เป็นบุคคลอื่นและไม่มีประสงค์จะเช่ารถยนต์ การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อ
โกง ไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก

- - หากได้ทรัพย์ไปเพราะแย่งการครอบครอง ผิดลักทรัพย์ (เจ้าของไม่ได้สมัครใจส่งมอบทรัพย์ให้)

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา วินิจฉัยว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์(โดยใช้กลอุบาย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2553
จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่
จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้
เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้
เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มี
เจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย
การกระทำของจำเลยจึงเป็น
ความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่