admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> คำถามกฎหมายครอบครัว-มรดก : บุตรที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โดย admin advanced law - อาทิตย์, 14 มิถุนายน 2015, 11:19AM
 
คำถามกฎหมายครอบครัว-มรดก
-
ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้ อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่โจทก์ร่วมเป็นบุตรของผู้ตายกับ ป. ซึ่ง ป. ให้การชั้นสอบสวนว่า ผู้ตายกับ ป. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้ผู้ตายแจ้งการเกิดของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเป็นบุตรของผู้ตาย และตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้ตายยินยอมให้โจทก์ร่วมใช้ชื่อสกุลอันถือว่า โจทก์ร่วมเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามมาตรา 1627 ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1563 และมาตรา 1564 ที่บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้นหมายถึงบุตรและบิดา โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอก กฎหมาย ดังนั้น แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมี สิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดให้บิดาของตนถึงแก่ความตายได้-ฎีกาศาลยุติธรรม เล่ม 5 ปี 2556
-
ข้อสังเกต บุตรและบิดาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน หมายถึง กรณีเป็นบุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่รวมถึงบุตรที่บิดารับรองว่าเป็นบุตร "ชอบด้วยกฎหมาย" หมายถึง บิดามารดาต้องจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย
-
181

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ทำร้ายผู้ตายจนหมดสติ เข้าใจว่าตาย จึงเอาไปทิ้งอ่างเก็บน้ำ ผิดเจตนาฆ่าหรือไม่
โดย admin advanced law - จันทร์, 25 พฤษภาคม 2015, 03:30PM
 
จำเลยพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้าย ผู้ตายหมดสติ จำเลยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วจึงนำผู้ตายไปทิ้งอ่างเก็บน้ำ เช่นนี้จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาหรือไม่?
-
ตอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา แต่จำเลยมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เนื่องจากการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด เท่ากับขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานนั้น แต่อย่างไรก็ตามหากการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดนั้นเกิดจากความประมาท และเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้รับโทษเพราะกระทำโดยประมาท ผู้กระทำก็ต้องรับโทษฐานประมาท
-
ฎีกาที่ 5729/2556 จำเลยที่ 1 พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ดายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติแล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำ โดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว จึงถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดอันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้ตาม
ป.อ.มาตรา 59 วรรคสาม การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้ตายตาม ป.อ.มาตรา 288 แต่เป็นการกระทำผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ.มาตรา 291


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ติดเครื่องเสียงในรถที่เช่าซื้อหากต้องคืนรถจะขอทรัพย์ที่ติดตั้งคืนได้หรือไม่
โดย admin advanced law - ศุกร์, 22 พฤษภาคม 2015, 02:10PM
 

ผู้เช่าซื้อ นำวิทยุ เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงมาสู่รถที่เช่าซื้อ หากผู้เช่าซื้อต้องคืนรถกลับสู่ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อต้องคืน วิทยุ เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงให้แก่ผู้เช่าซื้อหรือไม่
-
คำตอบ คือ ต้องคืนวิทยุ เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงให้แก่ผู้เช่าซื้อ

-
(ฎีกาที่ 1814/2545) จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์นำวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงมาสู่รถที่เช่าซื้อเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เอง หาใช่เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอยหรือรักษารถอันเป็นทรัพย์ประธานไม่ ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่อุปกรณ์อันจะตกติดไปกับทรัพย์ประธานตาม ป.พ.พ.มาตรา 147 วรรคท้าย ส่วนข้อสัญญาที่กำหนดว่า "...หากผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติมหรือตั้งอยู่ในตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อ สิ่งนั้นจะตกเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์ที่เช่าซื้อและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทันที..." นั้น ก็เป็นแบบฟอร์มที่โจทก์จัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียว และเป็นข้อความที่มาจากปัญหาที่มักเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อรายอื่นที่ผู้เช่าซื้อมักนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเดิมหรือติดกับทรัพย์ที่เช่าซื้อ และเมื่อต้องการเอาสิ่งของดังกล่าวคืนก็จะทำการรื้อไปอันทำให้ทรัพย์ที่เช่าซื้อของโจทก์เสียหาย แต่กรณีที่จำเลยที่ 1 นำทรัพย์ดังกล่าวมาสู่ตัวรถ ย่อมไม่ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหากจะต้องรื้อออกไป จึงไม่อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจจะยกข้อสัญญาที่ปรากฏมาเป็นเหตุไม่คืนวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงให้แก่
จำเลยที่ 1


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ผู้เยาว์ฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลด้วยตนเอง ได้หรือไม่
โดย admin advanced law - เสาร์, 6 ธันวาคม 2014, 02:42PM
 
ผู้เยาว์ฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลด้วยตนเอง ได้หรือไม่?
-

คำตอบ คือ ไม่ได้ (ถือว่าบกพร่องในเรื่องความสามารถ) เหตุผล คือ

ป.วิ.แพ่ง มาตรา 56 วรรคหนึ่ง กำหนดเรื่องการดำเนินคดีของผู้ไร้ความสามารถเอาไว้ว่า
"ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ทำการแทนจะเสนอข้อหาต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถและตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ การให้อนุญาตหรือยินยอมตามบทบัญญัติเช่นว่านั้น ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนความ"

ผู้ไร้ความสามารถ ตามมาตรา 56 มีความหมายอยู่ในมาตรา 1(12) ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง จึงหมายความรวมถึง ผู้เยาว์ , คนไร้ความสามารถ และ คนเสมือนไร้ความสามารถ

ดังนั้น การเสนอข้อหาหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาล จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1.กรณีผู้เยาว์ : ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ดังนั้น บิดามารดาย่อมเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ การฟ้องและการดำเนินคดีของผู้เยาว์ต้องกระทำการแทนโดยผู้แทนโดยชอบธรรม

ฎีกาที่ 623/2519 (ประชุมใหญ่) โจทก์เป็นผู้เยาว์ฟ้องคดีเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยซึ่งทำละเมิดให้มารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเข้ามาดำเนินคดีแทน ก็เป็นแต่บกพร่องเรื่องความสามารถที่แก้ไขได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 56 ไม่ใช่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแต่อย่างใด แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ชั้นฎีกา โจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ย่อมไม่ต้องแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถอีก โจทก์มีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้

**ข้อสังเกต ผู้เยาว์ฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลด้วยตนเอง เป็นเพียงเรื่องของการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น ไม่ใช่ผู้เยาว์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้แก้ไขเรื่องความสามารถเสียก่อน ตามมาตรา 56 วรรคสอง ฉะนั้น ศาลจะด่วนยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ (ดูเพิ่มเติมในฎีกาที่ 2464/2547, 2741/2532, 3184/2550, 516/2551)

2.กรณีคนไรัความสามารถ : ย่อมอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล ดังนั้น การฟ้องและ
การดำเนินคดีของคนไร้ความสามารถต้องกระทำการแทนโดยผู้อนุบาล

3.กรณีคนเสมือนไร้ความสามารถ : ย่อมอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ และสามารถฟ้องคดีและดำเนินคดีได้ด้วยตนเอง แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ (ผู้พิทักษ์ไม่มีอำนาจกระทำการแทน แต่มีอำนาจเพียงให้ความยินยอมเท่านั้น) หนังสือให้ความยินยอมให้ยื่นต่อศาลเพื่อรวมในสำนวนความด้วย

ฎีกาที่ 905/2523 บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถนั้นทำนิติกรรมเองได้สิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง
เว้นแต่จะต้องด้วยข้อจำกัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 35 ซึ่งผู้เสมือนไร้ความสามารถจะทำได้เฉพาะเมื่อผู้พิทักษ์ให้ความยินยอมเท่านั้น ผู้พิทักษ์มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ผู้เสมือนไร้ความสามารถในกิจการที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้อำนาจผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> เงื้อมือจะตบหน้าพร้อมพูดว่า "เดี๋ยวตบแม่งเลย" แล้วแย่งเอาโทรศัพท์มือถือไป ผิดฐานใด
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 21 สิงหาคม 2014, 02:02PM
 

คำถาม จำเลยทำท่าเงื้อมือจะตบหน้าผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่า อีสัตว์อย่ามายุ่ง เดี๋ยวตบแม่งเลย แล้วแย่งเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไป เป็นความผิดฐานใด ระหว่างลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ หรือ ชิงทรัพย์

คำตอบ ผิดชิงทรัพย์ เพราะพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นการขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6070/2555

ณ. เดินเข้าไปหาผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ซึ่งกำลังยืนคุยกันอยู่ ทำท่าเงื้อมือจะตบหน้าผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่า "อีสัตว์อย่ามายุ่ง เดี๋ยวตบแม่งเลย" แล้วหันไปใช้ไขควงจี้ที่หน้าอกจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะแย่งเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไปตามที่นัดแนะกันไว้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นการขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา339 (1), (2) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ผู้รับหน้าที่ชวนผู้เสียหายออกมานอกปั๊มน้ำมันและทำทีเป็นขอตรวจดูโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายจะไม่ได้แสดงอาการขู่เข็ญผู้เสียหายก็ตาม จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการร่วมกระทำผิดก็ต้องมีความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยและเมื่อการชิงทรัพย์ดังกล่าวประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา 335 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงต้องเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง และต้องรับโทษหนักขึ้นตามตรา 340 ตรีเพราะ ณ. ตัวการร่วมได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดหรือเพื่อการพาทรัพย์นั้นไปด้วย


หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()