รูปภาพของadmin advanced law
คำถามกฎหมายครอบครัว-มรดก : บุตรที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โดย admin advanced law - อาทิตย์, 14 มิถุนายน 2015, 11:19AM
 
คำถามกฎหมายครอบครัว-มรดก
-
ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้ อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่โจทก์ร่วมเป็นบุตรของผู้ตายกับ ป. ซึ่ง ป. ให้การชั้นสอบสวนว่า ผู้ตายกับ ป. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้ผู้ตายแจ้งการเกิดของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเป็นบุตรของผู้ตาย และตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้ตายยินยอมให้โจทก์ร่วมใช้ชื่อสกุลอันถือว่า โจทก์ร่วมเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามมาตรา 1627 ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1563 และมาตรา 1564 ที่บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้นหมายถึงบุตรและบิดา โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอก กฎหมาย ดังนั้น แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมี สิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดให้บิดาของตนถึงแก่ความตายได้-ฎีกาศาลยุติธรรม เล่ม 5 ปี 2556
-
ข้อสังเกต บุตรและบิดาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน หมายถึง กรณีเป็นบุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่รวมถึงบุตรที่บิดารับรองว่าเป็นบุตร "ชอบด้วยกฎหมาย" หมายถึง บิดามารดาต้องจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย
-
181