admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> กฎหมายลิขสิทธิ์ มีอายุการคุ้มครองงานกี่ปี ??
โดย admin advanced law - พุธ, 18 เมษายน 2018, 11:21AM
 

อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์

โดยทั่วไปการคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต แต่มีงานบางประเภทที่มีอายุการคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนั้น อายุการคุ้มครองสามารถแยกได้โดยสรุป ดังนี้

1.อายุลิขสิทธิ์ทั่วไป

 คือ ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

2.อายุลิขสิทธิ์กรณีมีผู้สร้างสรรค์ร่วม

 ให้นับตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายที่ถึงแก่ความตาย และต่อไปอีก 50 ปีนับแต่นั้นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนมีการโฆษณางาน อายุลิขสิทธิ์คือ 50 ปี นับแต่มีการโฆษณางานครั้งแรก

3.อายุลิขสิทธิ์กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล

คือ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น และถ้าระหว่างระยะเวลาดังกล่าวได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณางานครั้งแรก

4.อายุลิขสิทธิ์ของงานที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์

 คือ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งาน แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณางานครั้งแรก

5.อายุลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ

 คือ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณางานครั้งแรก

6.อายุลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์

 คือ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณางานครั้งแรก

7.อายุลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้าง หรือตามคำสั่ง หรือในความควบคุม

 คือ นับแต่ได้สร้างสรรค์งาน แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณางานครั้งแรก

-

ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร

-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law

-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ

-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก

-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร

-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Line: 0813404020

Email : lawyer_ram@hotmail.com

Website : www.law-webservice.com

Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> จอดรถบริเวณที่จอดรถของห้องเช่าอพาร์ตเมนต์ หากรถหาย เจ้าของอพาร์ตเมนต์ต้องรับผิดหรือไม่
โดย admin advanced law - พุธ, 18 เมษายน 2018, 11:18AM
 
คำถาม ผู้เช่าเช่าห้องพักของอพาร์ตเมนต์ และจอดรถบริเวณที่จอดรถของอพาร์ตเมนต์ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดูแลรักษายานพาหนะของผู้เช่าที่จอดในบริเวณที่จอดหรือไม่ หากรถสูญหายผู้ให้เช่าอพาร์ตเมนต์ ต้องรับผิดหรือไม่


ตอบ ไม่ต้องรับผิด เพราะผู้เช่าต้องดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจนยานพาหนะของผู้เช่าด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2556 ส. นำรถจักรยานยนต์ไปจอดที่บริเวณด้านหน้าอพาร์ตเมนต์ซึ่งไม่มีการระบุว่าเป็นที่จอดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ บริเวณดังกล่าวมีเพียงแผงเหล็กที่มีล้อเลื่อนสามารถเลื่อนไปมาได้และบุคคลทั่วไปสามารถเลื่อนแผงเหล็กเพื่อนำรถเข้าจอดได้การนำรถเข้าจอดในบริเวณที่เกิดเหตุไม่ต้องแจ้งพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่มีการออกใบรับหรือแลกบัตรและไม่ต้องเสียค่าจอดรถพนักงานรักษาความปลอดภัยของอพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่จะประจำอยู่ในอาคารไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุ เจ้าของรถที่นำรถไปจอดต้องดำเนินการเองทั้งสิ้นทั้งสัญญาเช่าห้องพักของ ส. ระบุว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจนยานพาหนะของผู้เช่าด้วยตนเอง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย ผู้เช่าจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ซึ่ง ส. ทราบข้อความและลงลายมือชื่อในสัญญา ถือได้ว่า ส. ตกลงด้วยโดยชัดแจ้งแล้วว่า ส. จะเป็นผู้ดูแลยานพาหนะของตนเอง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย ส. จะเป็นผู้รับผิดชอบเอง ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ผู้เช่าจอดรถที่หน้าอพาร์ตเมนต์ก็เพื่อความเป็นระเบียบและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่า จำเลยทั้งสี่ไม่หน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของยานพาหนะของผู้เช่าที่นำมาจอด การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินของ ส. จนทำให้ทรัพย์สินสูญหายไป จะถือว่าเกิดจากการ ที่จำเลยทั้งสี่งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้

อพาร์ตเมนต์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีทางเข้าออกจากอาคารเพียงทางเดียวและเป็นประตูนิรภัยต้องใช้บัตรสำหรับเข้าออก มีการติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิดและมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของผู้เช่าในอาคาร ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จัดระบบการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยในอพาร์ตเมนต์เหมาะสมแก่การประกอบกิจการอพาร์ตเมนต์เป็นไปตามที่แสดงให้บุคคลทั่วไปทราบก็ได้เป็นการหลอกลวง อีกทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคลที่อยู่นอกอาคาร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย หรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำหรือที่ตนมีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4

-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร
-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ
-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร
-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Line: 0813404020
Email : lawyer_ram@hotmail.com
Website : www.law-webservice.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> เงินรางวัลจากการขายรถยนต์ เป็น "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หรือไม่
โดย admin advanced law - พุธ, 18 เมษายน 2018, 11:17AM
 
เงินรางวัลจากการขายรถยนต์ เป็น "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หรือไม่

-
ตอบ ไม่ใช่ เพราะเงินรางวัลดังกล่าวเป็นข้อตกลงเพื่อจูงใจพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ กระตือรือร้นในการหาลูกค้า ซึ่งพนักงานที่จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความขยันและประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคน เงินรางวัลจึงไม่ใช่ค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้าง
-
ฎ.8260/2559 เงินรางวัลจากการขายรถยนต์ จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์ทั้งสามต่อเมื่อลูกค้าผ่อนค่างวดครบสี่งวดแรกตรงตามกำหนด หากชำระไม่ตรงตามกำหนด โจทก์ทั้งสามต้องติดตามให้ลูกค้าชำระให้ครบภายในงวดที่ 5 มิฉะนั้นจำเลยจะหักเงินรางวัลจากเงินรางวัลรวมที่ทำได้ในงวดที่ 4 แต่หากโจทก์ทั้งสามติดตามให้ลูกค้าชำระครบในงวดที่ 5 จำเลยจะคืนให้พร้อมเงินรางวัลที่หักไว้ ส่วนเงินรางวัลสำหรับการขายประกันคุ้มครองภาระหนี้จะจ่ายให้เมื่อลูกค้าชำระตรงตามกำหนดสี่งวดแรกต่อการขายแต่ละครั้ง เช่นนี้เห็นได้ว่าการจ่ายเงินรางวัลดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อเป็นการจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการหาลูกค้าและตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระเงินค่างวดของลูกค้าเพื่อป้องกันความเสียหายในด้านสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจของจำเลยอีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้พนักงานกระตือรือร้นหาลูกค้าและติดตามเร่งรัดการจ่ายเงินค่าเช่าซื้อให้ตรงตามกำหนด ดังนั้น พนักงานจะมีโอกาสได้รับเงินดังกล่าวมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับความขยันและประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคน จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
เมื่อการจ่ายเงินรางวัลดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติงานจนครบก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับ ทั้งจำเลยจะจ่ายเงินรางวัลให้กับพนักงานที่ยังคงมีสถานภาพเป็นพนักงานในวันที่จ่ายเท่านั้น เมื่อโจทก์ทั้งสามลาออกจากการเป็นลูกจ้างเป็นการพ้นสถานภาพการเป็นพนักงานไปก่อนในวันที่จ่าย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามฟ้อง

-

ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร
-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ
-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร
-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Line : 0813404020
Email : lawyer_ram@hotmail.com
Website : www.law-webservice.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ลูกจ้างตกลงทำงานให้ 2 ปี หากลาออกก่อนกำหนดยอมใช้ค่าเสียหาย ได้หรือไม่
โดย admin advanced law - พุธ, 18 เมษายน 2018, 11:16AM
 
สัญญาจ้างแรงงาน ระบุข้อตกลงว่าลูกจ้างจะทำงานให้บริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หากลาออกก่อนกำหนดยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัท ข้อตกลงเช่นนี้ใช้บังคับได้หรือไม่

-
ตอบ บังคับได้ ถือว่าเป็นการกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเป็นลักษณะข้อตกลงเบี้ยปรับ ดังนั้น ศาลมีอำนาจปรับลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้หากเห็นว่าสูงเกินส่วน แต่ละงดเบี้ยปรับเลยไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กระทำเช่นนั้นได้
-

ฎ.7620/2559 การที่สัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายหนังสือสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุความว่า พนักงานตกลงที่จะทำงานให้กับบริษัทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันเข้าทำงาน หากพนักงานมีความประสงค์จะลาออกก่อนครบกำหนดเวลา พนักงานยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทไม่น้อยกว่าเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่พนักงานได้รับ ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงกำหนดความเสียหายเพื่อการผิดนัดไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า จึงเป็นข้อตกลงเบี้ยปรับเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และ 380 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลแรงงานกลางมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้โดยให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง กล่าวคือศาลแรงงานกลางจะต้องพิเคราะห์ทางได้เสียของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เฉพาะความเสียหายที่คำนวณได้เป็นเงินเท่านั้น นอกจากนี้เบี้ยปรับยังเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย จึงชอบที่จะพิจารณามูลเหตุการผิดสัญญาของลูกหนี้ว่าเป็นการจงใจกระทำผิดสัญญาเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งด้วยหรือไม่ ศาลแรงงานกลางจะใช้ดุลพินิจไม่ให้ค่าเสียหายส่วนนี้เสียเลยหาได้ไม่เพราะไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราใดที่ให้อำนาจงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้นศาลแรงงานกลางจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่จุดมุ่งหมายของข้อสัญญาที่ให้ทำงานครบ 2 ปี ความจำเป็นที่ต้องทำสัญญาไว้เช่นนี้ ความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์ต่อจำเลย ความเสียหายอื่นที่มิใช่ทรัพย์สิน รวมตลอดถึงเหตุผลที่โจทก์ผิดสัญญาจ้างแรงงานว่าเป็นการกระทำไปโดยจงใจเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นการได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่เสียก่อน แล้วใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายกำหนดเบี้ยปรับเป็นจำนวนพอสมควร
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร
-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ
-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร
-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Line: 0813404020
Email : lawyer_ram@hotmail.com
Website : www.law-webservice.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> กรณีด่าว่าผู้อื่นทางโทรศัพท์ ถือเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามป.อาญา หรือไม่
โดย admin advanced law - อาทิตย์, 14 มิถุนายน 2015, 11:25AM
 
คำตอบ - การตีความกฎหมายอาญา ต้องตีความโดยเคร่งครัด เมื่อดูหมิ่นทางโทรศัพท์มิใช่เป็น "ซึ่งหน้า" ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่า ไม่มีความผิด (ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มีความผิด)
- จำเลยโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหายด่าว่าและทวงเอกสารจากผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอยู่ที่ห่างไกลกันคนละอำเภอกับจำเลย แต่องค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า - ฎ.3711/2557 216

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()