คำถาม ผู้เช่าเช่าห้องพักของอพาร์ตเมนต์ และจอดรถบริเวณที่จอดรถของอพาร์ตเมนต์ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดูแลรักษายานพาหนะของผู้เช่าที่จอดในบริเวณที่จอดหรือไม่ หากรถสูญหายผู้ให้เช่าอพาร์ตเมนต์ ต้องรับผิดหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องรับผิด เพราะผู้เช่าต้องดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจนยานพาหนะของผู้เช่าด้วยตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2556 ส. นำรถจักรยานยนต์ไปจอดที่บริเวณด้านหน้าอพาร์ตเมนต์ซึ่งไม่มีการระบุว่าเป็นที่จอดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ บริเวณดังกล่าวมีเพียงแผงเหล็กที่มีล้อเลื่อนสามารถเลื่อนไปมาได้และบุคคลทั่วไปสามารถเลื่อนแผงเหล็กเพื่อนำรถเข้าจอดได้การนำรถเข้าจอดในบริเวณที่เกิดเหตุไม่ต้องแจ้งพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่มีการออกใบรับหรือแลกบัตรและไม่ต้องเสียค่าจอดรถพนักงานรักษาความปลอดภัยของอพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่จะประจำอยู่ในอาคารไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุ เจ้าของรถที่นำรถไปจอดต้องดำเนินการเองทั้งสิ้นทั้งสัญญาเช่าห้องพักของ ส. ระบุว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจนยานพาหนะของผู้เช่าด้วยตนเอง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย ผู้เช่าจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ซึ่ง ส. ทราบข้อความและลงลายมือชื่อในสัญญา ถือได้ว่า ส. ตกลงด้วยโดยชัดแจ้งแล้วว่า ส. จะเป็นผู้ดูแลยานพาหนะของตนเอง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย ส. จะเป็นผู้รับผิดชอบเอง ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ผู้เช่าจอดรถที่หน้าอพาร์ตเมนต์ก็เพื่อความเป็นระเบียบและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่า จำเลยทั้งสี่ไม่หน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของยานพาหนะของผู้เช่าที่นำมาจอด การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินของ ส. จนทำให้ทรัพย์สินสูญหายไป จะถือว่าเกิดจากการ ที่จำเลยทั้งสี่งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้
อพาร์ตเมนต์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีทางเข้าออกจากอาคารเพียงทางเดียวและเป็นประตูนิรภัยต้องใช้บัตรสำหรับเข้าออก มีการติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิดและมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของผู้เช่าในอาคาร ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จัดระบบการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยในอพาร์ตเมนต์เหมาะสมแก่การประกอบกิจการอพาร์ตเมนต์เป็นไปตามที่แสดงให้บุคคลทั่วไปทราบก็ได้เป็นการหลอกลวง อีกทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคลที่อยู่นอกอาคาร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย หรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำหรือที่ตนมีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร
-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ
-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร
-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Line: 0813404020
Email : lawyer_ram@hotmail.com
Website : www.law-webservice.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law