admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์
โดย admin advanced law - ศุกร์, 14 ธันวาคม 2018, 01:09PM
 
การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์
-
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ พ.ศ.2537 มาตรา 28/1 กำหนดว่า "การทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในโรงภาพยนตร์ตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15(5) ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และมิให้นำมาตรา 32 วรรคสอง (2) มาใช้บังคับ"
หลักเกณฑ์การกระทำความฐานละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ตามกฎหมายดังกล่าว คือ
1.ต้องเป็นการทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาต
2.ต้องเป็นการกระทำในโรงภาพยนตร์
3.ต้องเป็นการกระทำในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ด้วย
การละเมิดลิขสิทธิ์ ดังกล่าวไม่สามารถอ้างข้อยกเว้นว่าใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิทเพื่อให้พ้นความผิดได้
อัตราโทษสำหรับความผิดนี้ คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 69/1)

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> สรุปหลักเกณฑ์ การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 13 ธันวาคม 2018, 04:09PM
 
สรุปหลักเกณฑ์ การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่

(ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526)

1.คดีที่ขอให้มีการรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้
1) ต้องเป็นคดีอาญา
2) ต้องเป็นคดีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว

2.เงื่อนไขหรือเหตุที่ขอให้รื้อฟื้นคดีได้
เมื่อปรากฎว่ามีเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) พยานบุคคลซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานนั้นเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง
2) พยานหลักฐานอื่นนอกจากพยานบุคคลตาม (๑) ซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าเป็นพยานหลักฐานปลอมหรือเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง หรือ
3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด

3.บุคคลผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดีใหม่ได้
1) บุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
2) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลในกรณีที่บุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นเป็นผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ
3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลในกรณีที่นิติบุคคลนั้นต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
4) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาของบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการยื่นคำร้อง หรือ
5) พนักงานอัยการในกรณีที่พนักงานอัยการมิได้เป็นโจทก์ในคดีเดิม

4.ขั้นตอนการยื่นคำร้อง
1) คำร้องต้องอ้างเหตุหรือเงื่อนไขในการรื้อฟื้นคดีให้ละเอียดและชัดแจ้ง ถ้าประสงค์จะขอค่าทดแทนเพื่อการที่บุคคลใดต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือขอรับสิทธิที่บุคคลนั้นเสียไปอันเป็นผลโดยตรงจากคำพิพากษานั้นคืน ให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย
2) ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาคดีนั้น
3) ให้ศาลที่ได้รับคำร้องทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ เว้นแต่ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นผู้ร้อง ศาลจะไต่สวนคำร้องหรือไม่ก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง ก็ให้ศาลสั่งรับคำร้องและดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป คำสั่งของศาลในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด
4) เมื่อศาลที่รับคำร้องได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้าเพื่อสั่ง
5) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับสำนวนการไต่สวนและความเห็นแล้ว ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับคำร้องและสั่งให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป แต่ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด (ไม่ว่าจะอนุญาตหรือยกคำร้องก็ตาม)
6) ในระหว่างดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ หากบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดกำลังรับโทษนั้นอยู่ ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องจะสั่งปล่อยบุคคลนั้นชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้
7) คำร้องเกี่ยวกับผู้ต้องรับโทษอาญาคนหนึ่งในคดีหนึ่งให้ยื่นได้เพียงครั้งเดียว
8) คำร้องให้ยื่นได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือมีเหตุให้รื้อฟื้นคดี หรือภายใน 10 นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด แต่เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษศาลจะรับคำร้องที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นนั้นไว้พิจารณาก็ได้

5.อำนาจศาลในการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่
1) ถ้าศาลเห็นว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมได้กระทำความผิด ก็ให้พิพากษายกคำร้องนั้นเสีย แต่ถ้าเห็นว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมมิได้กระทำความผิด ให้พิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาว่าบุคคลนั้นมิได้กระทำความผิด
2) ในกรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาและทำความเห็นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี พิจารณาเพื่อพิพากษายกคำร้อง หรือยกคำพิพากษาเดิม และพิพากษาว่าบุคคลนั้นมิได้กระทำความผิด
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> หลักเกณฑ์ การขอเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 13 ธันวาคม 2018, 04:05PM
 
หลักเกณฑ์ การขอเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

-
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
กฎหมายฉบับนี้มีหลักการที่เล็งเห็นว่า ผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง มิใช่อาชญากรปกติ การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดจึงสมควรกระทำให้กว้างขวาง และโดยที่ผู้เสพยาเสพติดจำนวนหนึ่งถูกบังคับ
ให้เป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดเพื่อแลกกับการได้ยาเสพติดไปเสพด้วย จึงสมควรขยายขอบเขตของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้ครอบคลุมถึงผู้เสพและมีไว้ในครอบครอง ผู้เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และผู้เสพและจำหน่ายยาเสพติดจำนวนเล็กน้อยด้วย
นอกจากนั้นเนื่องจากบุคคลซึ่งติดหรือเสพยาเสพติดมีจำนวนมากและเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ สมควรขยายสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติด และสถานที่เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะนอกจากมีหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมแล้วยังมีหน่วยงานอื่นของรัฐ และหน่วยงานเอกชนที่มีขีดความสามารถเข้ามาร่วมในการตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลดังกล่าว อาทิเช่น สถานที่ของหน่วยงานในราชการทหาร เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ สถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งสมควรรวมทรัพยากรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-
“ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันเป็นการบำบัดการติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติด รวมตลอดถึงการรักษาสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ซึ่งเสพยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยไม่เสี่ยงต่อการเป็นผู้ติดยาเสพติด

-
“ติดยาเสพติด” หมายความว่า เสพยาเสพติดเป็นประจำติดต่อกัน และตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งยาเสพติดนั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ

-
หลักเกณฑ์ การขอเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บัญญัติไว้ในมาตรา 19 คือ
มาตรา 19 วรรคหนึ่ง "ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่เกิดจากตัวผู้ต้องหานั้นเอง หรือจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้"

-
ซึ่งเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของการมีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูฯ คือ ต้องไม่ปรากฎว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ดังนั้น หากผู้ต้องหา ต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกย่อมขาดคุณสมบัติที่จะเข้ารับการฟื้นฟูฯ

ฎีกาที่ 4354/2560 ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาที่มีสิทธิเข้ารับการตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดหรือเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้นั้น จะต้องไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ฟังยุติว่า ขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยอยู่ระหว่างปล่อยตัวชั่วคราวในคดีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก ดังนั้นจำเลยจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนและส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการฟ้องคดีดังเช่นคดีอื่น จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ไม่ได้เป็นทนายความ ไม่ควรเขียนฟ้องให้ผู้อื่น
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 13 ธันวาคม 2018, 04:03PM
 
ไม่ได้เป็นทนายความ ไม่ควรเขียนฟ้องให้ผู้อื่น

ฎีกาที่ 306/2555

อ. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตาม
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 การที่ อ. เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืน
ต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (7) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “เห็นว่า คำฟ้องฎีกาของจำเลยมีจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา และมีนายอริย์ธัช อนาทินีวงศ์ ลงลายมือชื่อ
เป็นผู้เรียง ซึ่งตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต
หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์
แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำใน
ฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการ
ตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น” ซึ่งการฝ่าฝืน
มาตรา 33 มีโทษทางอาญาตาม มาตรา 182 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อนายอริย์ธัช มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและ
รับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้น ตามมาตรา 33 การที่นายอริย์ธัช เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกา
ให้จำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย คำฟ้องฎีกาของจำเลย จึงไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้”
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ลูกลักทรัพย์พ่อแม่ หรือพ่อแม่ลักทรัพย์ของลูก มีผลทางกฎหมายอาญาเป็นอย่างไร
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 13 ธันวาคม 2018, 04:02PM
 
ลูกลักทรัพย์พ่อแม่ หรือพ่อแม่ลักทรัพย์ของลูก มีผลทางกฎหมายอาญาเป็นอย่างไร

กฎหมายอาญากำหนดไว้ว่า ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์,
วิ่งราวทรัพย์, ฉ้อโกง, ยักยอก, ทำให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก เป็นต้น ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการี
กระทำต่อผู้สืบสันดาน หรือผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการี แม้กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้เป็น
ความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และนอกจากนี้ศาลจะลงโทษน้อย
กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71
วรรคสอง)
โดยปกติแล้วความผิดฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวทรัพย์นั้นเป็นความผิดซึ่งยอมความ
ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดิน (เป็นความผิดที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยใน
บ้านเมือง) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากผู้กระทำความผิดเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหาย หรือกรณีผู้เสียหาย
เป็นผู้สืบสันดานของผู้กระทำความผิด กฎหมายก็อนุโลมให้ว่าแม้ความผิดอาญาที่กระทำนั้น
เป็นความที่ยอมความไม่ได้ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้
ความหมายของคำว่า “ผู้สืบสันดาน” ในที่นี้ หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงเท่านั้น
และในทางกลับกัน “ผู้บุพการี” ก็หมายถึง ผู้บุพการีโดยตรงทางสายโลหิตเช่นเดียวกัน นั่น
หมายความว่า “บุตรบุญธรรม” ไม่อยู่ในความหมายของผู้สืบสันดาน ฉะนั้น หากบุตรบุญธรรม
ลักทรัพย์ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือในทางกลับกัน หากผู้รับบุตรบุญธรรมลักทรัพย์ของบุตร
บุญธรรม ย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายและต้องรับโทษตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้นให้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509 คำว่า “สืบสันดาน” ตามพจนานุกรมหมายความว่า
สืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587,1627
แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม
และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา
1586,1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับ
สัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการ
ตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบท
บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่าผู้สืบสันดาน ตามมาตรา
71 วรรคสองไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอม
ความไม่ได้
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()