admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> หลอกให้ทำสัญญาเช่าซื้อแล้วอาศัยสัญญาเป็นช่องทางให้ได้รถไป ผิดลักทรัพย์หรือฉ้อโกง
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 21 สิงหาคม 2014, 01:57PM
 

คำตอบ เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2554

การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตมิใช่ได้ทรัพย์เพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้ การที่ผู้เสียหายยินยอมส่งมอบรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เนื่องจากถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงให้ทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเพียงแต่อาศัยสัญญาดังกล่าว เพื่อเป็นช่องทางให้ได้รถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม ก็ถือเป็นส่ฃงมอบการครอบครองโดยสมัครใจ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ลักทรัพย์


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ขี่รถจักรยานยนต์มายังจุดนัดหมาย แล้วลงมาส่งมอบยาเสพติด ศาลริบรถจักรยานยนต์ได้หรือไม่
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 21 สิงหาคม 2014, 01:49PM
 
คำตอบ ริบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5698/2555

รถจักรยานยนต์ของกลาง ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางมาใช้เป็นยานพาหนะสำหรับการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องอย่างไร และเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่รถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนั้น รถจักรยานยนต์จึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้เดินทางมายังที่เกิดเหตุไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) จึงยังไม่อาจริบได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2555

ก. ลงจากรถจักรยานยนต์ของกลางที่จำเลยขับมากระชากกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายแล้ววิ่งกลับไปขึ้นรถของกลางเพื่อหลบหนีรถของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยกับพวกมีเจตนาใช้เดินทางไปและกลับจากการกระทำความผิดเพื่อให้พ้นการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดโดยตรง จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7479/2552

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ไม่มีรายละเอียดว่า ได้ใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ในลักษณะใด เพราะความผิดฐานนี้สามารถเป็นความผิดโดยสมบูรณ์ได้โดยไม่จำต้องใช้รถจักรยานยนต์ด้วยเสมอไป การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ที่ใช้เฉพาะในการเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจริบรถจักรยานยนต์ได้ตามมาตรา 33 (1)


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โทรติดต่อขอซื้อยาเสพติด ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้หรือไม่
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 21 สิงหาคม 2014, 01:47PM
 
ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โทรติดต่อขอซื้อยาเสพติด ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้หรือไม่

คำตอบ ริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2555 ช. โทรศัพท์ติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยโดยนัดส่งมอบบริเวณที่เกิดเหตุ ต่อมาจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมายังบริเวณที่เกิดเหตุและเจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางได้ที่ตัวจำเลย โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยตรงอันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> มัดจำ กับ เบี้ยปรับ เหมือนหรือต่างกัน อย่างไร
โดย admin advanced law - อังคาร, 13 พฤษภาคม 2014, 12:52PM
 
มัดจำ กับ เบี้ยปรับ เหมือนหรือต่างกัน อย่างไร
-
มัดจำ คือ สิ่งที่ได้ให้ไว้เมื่อเข้าทำสัญญา ซึ่งเมื่อได้ให้มัดจำไว้แล้วก็เป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญาขึ้นแล้ว
และเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้น (ป.พ.พ.มาตรา 377)

ดังนั้น สิ่งใดหากได้ให้ไว้เมื่อเข้าทำสัญญาย่อมเป็นมัดจำ แต่หากให้ในวันอื่นหรือหลังจากเข้าทำสัญญา
แม้จะกำหนดให้เรียกว่ามัดจำ ก็ไม่ใช่มัดจำตามกฎหมาย

มัดจำ จะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินอื่นก็ได้ เช่น เป็นเช็คก็ได้ เป็นสัญญากู้ยืมก็ได้ เป็นต้น
มัดจำ หากต้องริบ และหากมีจำนวนสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้
ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 7
-

เบี้ยปรับ คือ การตกลงค่าเสียหายล่วงหน้ากรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดหรือผิดสัญญา ซึ่งการกำหนดเบี้ยปรับ
จะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ เช่น เป็นเงินค่าปรับ, เป็นสิ่งของหรือทรัพย์สินอื่นๆ ก็ได้

เบี้ยปรับ หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ (ป.พ.พ.มาตรา 383)
-

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3216/2554

เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียวเพราะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนา
ที่ดินให้ถือว่าสัญญาเป็นอันยกเลิกโดยโจทก์ทั้งสองผู้จะซื้อยินยอมให้จำเลยผู้จะขาย
ริบเงินที่ได้ชำระไว้แล้วทั้งหมดเช่นนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่ง
ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์
ทั้งสองชำระเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันจอง ถือว่าเงินจำนวนนี้
เป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองได้ส่งมอบให้แก่จำเลยเพื่อเป็นพยานหลักฐาน และเป็นการ
ประกันในการปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นมัดจำ
ส่วนเงินที่โจทก์ทั้งสองชำระอีกจำนวน
32,500 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดิน ตามสัญญาดังกล่าว
ระบุให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้งวดที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ทั้งสอง
ชำระค่าที่ดินและค่าพัฒนาที่ดินตามสัญญา มิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกัน
การปฏิบัติตามสัญญา จึงมิใช่ค่ามัดจำ
ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา
และสัญญาเป็นอันยกเลิกแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำจำนวน 20,000 บาทได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2)

โจทก์ทั้งสองชำระค่าที่ดิน ค่าจ้างปลูกสร้างบ้าน ค่าสร้างรั้วและค่าต่อเติม
บ้านหลังจากที่จำเลยมีสิทธิริบมัดจำจำนวน 20,000 บาท แล้ว เป็นเงิน 606,897
บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จำเลยจะต้องให้โจทก์ทั้งสองกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
แต่การที่โจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาเป็นอันยกเลิก โจทก์ทั้งสองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ได้ชำระไว้แล้วทั้งหมด
ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ
ที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ.
มาตรา 379 และถ้าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวน
พอสมควรได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
-

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8942/2554

เงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยที่ 1 ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เป็นการให้เพื่อ
เป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาจะซื้อจะขายได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา
โดยคู่สัญญามีเจตนาจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ หรือหากโจทก์ละเลยไม่ชำระหนี้
ก็ให้ริบเงินนั้นได้ตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมัดจำมิใช่เบี้ยปรับ เพราะเบี้ยปรับเป็นกรณีที่ลูกหนี้
สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้อันเป็นการกำหนดค่าเสียหายเอาไว้ล่วงหน้าเท่านั้น
คู่สัญญามิได้มีเจตนาให้เอาเบี้ยปรับเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ แม้ตาม ป.พ.พ. มิได้ให้
อำนาจศาลที่จะลดมัดจำดังเช่นเบี้ยปรับ แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540
มาตรา 7 บัญญัติว่า ในสัญญาที่มีการให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ หากมีกรณีที่จะต้องริบมัดจำ
ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้ โดยบทกฎหมายดังกล่าว
เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งให้ศาลพิจารณาตามที่เห็นสมควรหากมัดจำสูงเกินส่วน
ศาลจึงมีอำนาจลดมัดจำได้


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> แค่ใช้เท้าถีบ แตะ และกระทืบเท่านั้น แต่ใครใช้มีดแทงไม่รู้ เช่นนี้เราจะรับผิดแค่ไหน?
โดย admin advanced law - พุธ, 30 เมษายน 2014, 04:00PM
 
การรับผิดในผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำย่อมต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน
แต่ผลที่จะต้องรับผิดนั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำและต้องเป็นผลธรรมดาที่ย่อมเกิดขึ้นได้
จากการกระทำของตน
ดังนั้น หากผลที่เกิดไม่ใช่ผลโดยตรงหรือผลธรรมดาที่ย่อมเกิดขึ้นได้ ผู้กระทำย่อมไม่ต้องรับผิดในผลนั้น
ฎีกาที่ 235-237/2555
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 พบผู้เสียหายโดยบังเอิญขณะผู้เสียหาย
ไปที่เกิดเหตุเพื่อรับ ป. กลับบ้าน แล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รุมถีบ เตะและ
กระทืบผู้เสียหายทันที จากนั้นจึงมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งเข้ารุมเตะและกระทืบ
ผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ลากผู้เสียหายไปรุมเตะ และกระทืบอีกที่บริเวณ
ข้างบ้านเลขที่ 35 โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายถูกอาวุธมีดแทงขณะที่จำเลยที่ 1 ที่ 2
และที่ 3 เข้ารุมทำร้ายในตอนแรกหรือหลังจากชาวบ้านเข้าร่วมรุมทำร้ายและ จึงฟัง
ไม่ได้ว่าการใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3
ทั้งการที่ชาวบ้านเข้ารุมทำร้ายผู้เสียหายด้วยนั้นก็ไม่ได้มีการสมคบหรือนัดหมาย
กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มาก่อน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่อาจเล็งเห็น
หรือคาดหมายได้ว่าพวกที่เข้าร่วมรุมทำร้ายผู้เสียหายดังกล่าวจะมีอาวุธมีด พฤติการณ์
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เพียงแต่ใช้เท้าถีบเตะกระทืบผู้เสียหาย ยังไม่พอฟังว่า
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาฆ่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 คงมีเพียงเจตนา
ทำร้าย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันพยายาม
ฆ่าผู้อื่น
ผู้เสียหายถูกอาวุธมีดแทงที่บริเวณท้อง แพทย์ให้การรักษาโดยผ่าตัด หลังจาก
ออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องไปรักษาตัวต่อที่บ้านโดยต้องนอนพักประมาณ 2 เดือน
ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลหรือศพของแพทย์ระบุว่า ได้ผ่าตัดเย็บซ่อมลำไส้
และจุดที่มีเลือดออก บาดแผลจะหายในเวลา 3 สัปดาห์ หากไม่มีสาเหตุแทรกซ้อน
แสดงว่าเหตุที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสเพราะต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา
เกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันนั้น เกิดจาก
การที่ผู้เสียหายถูกอาวุธมีดแทง ไม่ได้เกิดจากการรุมถีบ เตะและกระทืบของจำเลย
ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดังนั้น การที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจึงไม่ได้เป็นผลโดยตรง
จากการร่วมกันทำร้ายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และไม่ได้เป็นผลที่ตามธรรมดา
ย่อมเกิดขึ้นได้จากการร่วมกันทำร้ายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 การกระทำของจำเลย
ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()