admin advanced law

หน้า:  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ข่าวและประกาศ -> การสมัครสมาชิกใหม่
โดย admin advanced law - ศุกร์, 12 มกราคม 2024, 04:42PM
 
สนใจสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการฐานข้อมูลกฎหมาย/ติวสอบกฎหมาย

บริการงานด้านวิชาการ/ ติวสอบกฎหมาย

@ ติวสอบนิติศาสตรบัณฑิต + ใบอนุญาตทนายความ + เป็นเจ้าของบริษัทกฎหมายในหลักสูตรเดียว (ติดต่อ อาจารย์ ดร. พิชัย โชติชัยพร)
@ ติวสอบใบอนุญาตว่าความ/ ติวทนายออนไลน์
@ ติวสอบเนติบัณฑิตไทย
@ ติวสอบนิติศาสตรบัณฑิต ทุกสถาบัน
@ ติวกฎหมายเฉพาะ รายวิชา
@ ระบบฐานข้อมูลกฎหมาย/ซอฟต์แวร์กฎหมายและคำพิพากษาฎีกา
-
ติดต่อสอบถามได้ที่ ดร.พิชัย โชติชัยพร
-
email: altlimited@yahoo.com

รูปภาพของadmin advanced law
ข่าวและประกาศ -> คำแนะนำการใช้งานระบบ
โดย admin advanced law - ศุกร์, 12 มกราคม 2024, 04:29PM
 
คำแนะนำการใช้งานระบบ Law E-Learning
-
1.ผู้ใช้งานที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสมาชิก
สามารถขอรหัสเข้าใช้งานจากสำนักหอสมุดฯ หรือสำนักวิทยบริการ

2.สอบถามปัญหาการใช้งานระบบ การเรียนกฎหมาย
การสอบใบอนุญาตทนายความได้ โดยไปที่ห้อง "กระดานสนทนากฎหมาย" หรือส่งอีเมลสอบถามมาที่ lawyer_ram@hotmail.com
-
3.คู่มือการใช้งานระบบให้คลิกที่ "คู่มือการใช้งานระบบ" เมนูซ้ายมือของเพจหลัก


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 11 มกราคม 2024, 04:36PM
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี
-

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง ดีอย่างไร

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องสำหรับคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี เป็นกระบวนการที่ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายเจ้าหนี้เพราะช่วยลดภาระด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้มากทีเดียวไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างทนายความค่าธรรมเนียมศาลซึ่งต้องจ่ายขณะยื่นฟ้องเป็นจำนวนร้อยละ2ของทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องรวมไปถึงไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินคดีในชั้นศาล สำหรับลูกหนี้ก็เช่นเดียวกันไม่ต้องถูกฟ้องคดีไม่ตกเป็นจำเลยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีและยังรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้เมื่อจบกระบวนการไกล่เกลี่ยกันแล้ว นอกจากนี้ก็ยังช่วยลดภาระคดีในชั้นศาลได้ด้วย
-

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง ทำอย่างไร

1.ยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องต่อศาล (ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล)
ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาท ซึ่งการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก็ดำเนินการได้ตามความสะดวกของคู่กรณีไม่ว่าจะยื่นคำร้องออนไลน์ผ่านระบบ CIOS ของศาลหรือจะยื่นด้วยตนเองที่ศาลก็ได้ ส่วนการไกล่เกลี่ยก็สามารถไกล่เกลี่ยออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน

2.เจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยทำหนังสือเชิญชวนเข้าร่วมไกล่เกลี่ย (ตามความสมัครใจ) เมื่อมีการตอบรับเข้าร่วมไกล่เกลี่ย ก็กำหนดวัน เวลาในการไกล่เกลี่ยร่วมกัน

3.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ประนีประนอมที่ศาลแต่งตั้ง ศาลอำนวยความสะดวกให้โดยมีผู้ประนีประนอมที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลทำหน้าที่ดำเนินการไกล่เกลี่ย เมื่อคู่กรณีตกลงกันได้ก็จัดทำข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความร่วมกันและขอให้ศาลพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญายอมได้
-

หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ผลเป็นอย่างไร

หากการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ก็ฟ้องคดีต่อศาลได้ตามปกติและหากปรากฎว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วหลังจากยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยหรือจะครบกำหนดภายใน 60 วันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้อายุความขยานออกไปอีก 60 วันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
-

ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์
-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ
-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร
-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
Website : www.advancedlaw9.com

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> การดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่วิกลจริต
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 11 มกราคม 2024, 04:33PM
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่วิกลจริต
-
ความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คำว่า "วิกลจริต" หมายความว่า มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปกติเพราะสติวิปลาส ซึ่งคำว่า "สติ" หมายความว่า ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, ความรู้สึกผิดชอบ ส่วนคำว่า "วิปลาส" หมายความว่า คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ

ดังนั้นคำเรียกที่ว่า "คนวิกลจริต" จึงเป็นคำเรียกกว้าง ๆ ที่แสดงถึงบุคคลที่มีอาการหรือการแสดงออกแตกต่างจากคนปกติทั่วไปเพราะมีความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกผิดชอบแตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป มีสภาพทางจิตผิดปกติไปจากบุคคลทั่วไป

คำว่า "วิกลจริต" เป็นคำที่มีปรากฎอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทางอาญา มีหลักการสำคัญในการคุ้มครองผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตหรือคนวิกลจริตไว้ว่าในการดำเนินคดีอาญาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความสามารถที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ด้วย เพราะความบกพร่องทางจิตหรือสภาวะที่ไม่สมประกอบทางจิตของผู้กระทำความผิดเป็นเหตุบกพร่องที่บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไป ย่อมไม่อาจนำมาตรฐานการลงโทษสำหรับบุคคลปกติทั่วไปมาใช้บังคับกับคนวิกลจริตได้เพราะจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายและบังคับโทษที่ไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคเพราะคนวิกลจริตมีสภาวะที่ผิดปกติไปจากบุคคลปกติทั่วไป

ดังนั้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาและการลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งวิกลจริต จึงเป็นไปตามกฎหมายดังต่อไปนี้

1.การสั่งให้แพทย์ตรวจ
ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี สั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำ หรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 วรรคหนึ่ง

2.การงดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา และการสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว
ซึ่งหากในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิตหรือมอบให้แก่ผู้อนุบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้อื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยในกรณีที่ศาลสั่งงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดคีนั้นศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 วรรคสองและวรรคสาม

3.การไม่ต้องรับโทษ หรือ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
แต่มาตรา 65 วรรคสอง กำหนดว่าถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

4.การทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุวิกลจริตจะหมดไป
หากจำเลยซึ่งวิกลจริตถูกลงโทษจำคุกอาจมีการขอให้ทุเลาการจำคุกได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246 ที่กำหนดว่า เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไป ในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อจำเลยวิกลจริต (2) ...

5.การทุเลาการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหายวิกลจริต
ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตเกิดวิกลจริตก่อนถูกประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหาย
ในขณะทุเลาการประหารชีวิตอยู่นั้น ถ้าศาลเห็นว่าการปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลดโทษจะเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมตัวไว้ในสถานพยาบาลก็ได้ และคำสั่งนี้ศาลจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48

6.ลดโทษประหารชีวิตเหลือจำคุกตลอดชีวิต
กรณีที่มีการทุเลาการประหารชีวิตไว้และผู้วิกลจริตนั้นหายภายหลัง 1 ปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ก็ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 วรรคสอง
-

ความรู้กฎหมายโดยอาจารย์เกด ศิวาพร คารวนันท์
- ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
- ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
- ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
Website : www.advancedlaw9.com


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> การครอบครองปรปักษ์
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 11 มกราคม 2024, 04:33PM
 
การครอบครองปรปักษ์ (ป.พ.พ.มาตรา 1382)
-
- หลักเกณฑ์ การครอบครองปรปักษ์ คือ
1.ต้องครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น (ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นเท่านั้น)
2.ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ (มีกรรมสิทธิ์เท่านั้นไม่รวมสิทธิครอบครอง)
3.ต้องครอบครองโดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
4.ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี

- ข้อสังเกต

- ที่ดินมีโฉนด(มีกรรมสิทธิ์)เท่านั้น ที่ครอบครองปรปักษ์ได้ ส่วนที่ดิน น.ส.3.ก.(มีสิทธิครอบครอง) ไม่สามารถครอบครองปกปักษ์ได้เพราะเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ ดังนั้น หากครอบครองที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด จะเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ก็ต่อเมื่อที่ดินได้มีการออกโฉนดแล้ว

ฎ.2270/2554 การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา1382 จะต้องเป็นการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์และครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองในระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่าก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดรวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินมีโฉนดแล้วหาได้ไม่

- ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน ไม่อาจครอบครองปรปักษ์ได้ แต่ระหว่างราษฎรด้วยกัน ผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า

ฎ.8419/2550 ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน ผู้ใดย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใช้ยันต่อรัฐได้และยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนจึงยังเป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน แต่ผู้ที่ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น

- การครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นการปรปักษ์ในที่ดินผู้อื่น หากที่ดินเป็นของผู้ครอบครองอยู่แล้วย่อมไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้

ฎ.292/2552 ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น บัญญัติว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น...ฯลฯ...” คำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นผู้ใดก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น การครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองข้างในคำให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์

- ทรัพย์สินทางปัญหา เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จึงครอบครองปรปักษ์ไม่ได้

ฎ.9544/2542 เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ไม่มีรูปร่าง ทั้งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่างทรัพย์สินทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า PEAK และ PEAK กับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขาของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแม้เป็นระยะเวลานานเพียงใดก็ไม่ทำให้จำเลย มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ได้ บทบัญญัติว่าด้วยการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาอาจนำมาใช้บังคับแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์

หน้า:  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()