admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2560
โดย admin advanced law - พุธ, 8 มีนาคม 2023, 07:59AM
 
กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2560
-
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 595,500 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1
ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน
คงชำระดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 6,550 บาท การที่โจทก์ส่งข้อความทางเฟสบุ๊ค
ถึงจำเลยมีใจความว่า เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้อง
ส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการ
สนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 ถึง มาตรา 9
มาใช้บังคับด้วย แม้ข้อความนี้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความ
ทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความถึงจำเลยจริง
ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลย
โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ
จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
-
ข้อสังเกตจากคำพิพากษาศาลฎีกา (โปรดอ่านคำพิพากษาฉบับยาว จากระบบ
สืบค้นฯ มิติที่ 1)
กรณีตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้ ในประเด็นที่จำเลยอ้างว่า จำเลยส่งข้อความทาง
เฟสบุ๊คถึงจำเลยว่า “เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืนให้แล้ว ยกให้หมดไม่ต้อง
ส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว” เป็นการประชดไม่มีเจตนายก
หนี้ให้จริงนั้น
ในการวินิจฉัยคดี ศาลเห็นว่า ข้อความการสนทนาดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการ
แสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ ที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ไม่มี
เจตนาที่จะปลดหนี้ให้จำเลย แต่ทำไปเพราะความเครียดต้องการประชดประชันจำเลย
นั้นโจทก์ไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้เจตนาที่แสดงออกไปนั้นตกเป็นโมฆะ
เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้รู้ถึงเจตนาที่ซ่อนอยู่ภายในของโจทก์
พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับการปลดหนี้จากการกู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงินแล้ว
จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
มีข้อสังเกตว่า คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เพราะเห็นว่า ข้อความดังกล่าวเป็น
การแสดงเจตนาปลดหนี้ ทำให้หนี้ระงับ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับว่า ให้
จำเลยชำระเงิน 595,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี และในที่สุดศาล
ฎีกาได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้ยกฟ้อง เพราะหนี้ระงับแล้ว โจทก์
ไม่มีสิทธิเอาสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยได้.
-
สอบถามปัญหาการเรียนกฎหมายได้ที่ อ.พิชัย โชติชัยพร
อีเมล์ altlimited@yahoo.com



รูปภาพของadmin advanced law
*** คำแนะนำการใช้งาน *** -> คำแนะนำการใช้งานระบบ Law E-Learning
โดย admin advanced law - เสาร์, 18 กุมภาพันธ์ 2023, 08:42AM
 

ยิ้ม คำแนะนำการใช้งานระบบ Law E-Learning ยิ้ม

1.ผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิกของระบบ เมื่อเข้าใช้งานครั้งแรก
และระบบสอบถามให้จดจำหรือไม่
สามารถคลิกให้ระบบ
จดจำเข้าใช้งานในครั้งต่อไปได้ โดยไม่ต้องกรอก
รหัสผ่านอีก

2.ผู้ใช้งานสามารถสอบถามปัญหาการใช้งานระบบ
ปัญหา
การเรียนกฎหมาย เช่น ปัญหาการสอบใบอนุญาต
เป็น
ทนายความ เนติบัณฑิต, สอบถาามแนวทางการเข้า
สู่วิชาชีพกฎหมาย, การสอบเป็นผู้พิพากษา หรืออัยการ
ทางไลน์ตามเบอร์โทรด้านล่าง

3. คู่มือการใช้ระบบโดยละเอียด ให้คลิกที่ "คู่มือการใช้
งานระบบ" เมนูหน้าแรกของเพจหลัก
-
สอบถามปัญหาการใช้งานและการเรียนกฎหมายได้
ทาง Tel./Line ของอาจารย์ ดร.พิชัย 0862310999
-

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ศาลแพ่ง เปิดแผนก "คดีซื้อขายออนไลน์" ผู้เสียหายฟ้องคดีได้เอง (มีคลิป)
โดย admin advanced law - เสาร์, 18 กุมภาพันธ์ 2023, 08:36AM
 
ศาลแพ่ง เปิดแผนก “คดีซื้อขายออนไลน์”
โดยจะเริ่มให้ประชาชนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายฟ้องคดีได้เอง
ในวันที่ 27 มกราคม 2565 นี้ ผ่านระบบ e-Filling ของศาล
โดยในการใช้สิทธิดำเนินคดีนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย

คลิป แนะนำการฟ้องคดี โดยท่านผู้พิพากษา สรวิศ ลิมปรังษี โปรดคลิกชม

ซื้�ข�ง��นไลน์

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> สิทธิส่วนบุคคลกับการซื้อของออนไลน์
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 18 สิงหาคม 2022, 10:45AM
 
pdpa

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ประมวลกฎหมายอาญาแก้ไขใหม่ : เกี่ยวกับอายุเด็กที่กระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ
โดย admin advanced law - จันทร์, 23 พฤษภาคม 2022, 12:31PM
 
ประมวลกฎหมายอาญาแก้ไขใหม่ : เกี่ยวกับอายุเด็กที่กระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ
-

เดิมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73 กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษแม้ได้กระทำ

การอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ที่อายุไม่เกิน 10 ปี แต่ปัจจุบันได้มีการปรับแก้กำหนดเกณฑ์อายุ

เด็กจากอายุไม่เกิน 10 ปี เป็น อายุไม่เกิน 12 ปี ทั้งนี้เหตุผลที่สนับสนุนการปรับแก้เกณฑ์อายุเด็กในครั้ง

นี้ก็เนื่องจากว่าข้อมูลทางการแพทย์พบว่าเด็กอายุ 12 ปีกับเด็กอายุ 10 ปี ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

และเป็นช่วงอายุที่พัฒนาการด้านความคิด สติ ปัญญา จริยธรรม และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ยังไม่เจริญ

เติบโตเต็มที่และยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้อย่างดีพอ และเด็ก

ในช่วงวัยนี้ก็ยังอยู่ในวัยการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่สมควรให้เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญาซึ่งมี

ขั้นตอนการดำเนินการบางประการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และอาจทำให้เด็กเรียนรู้วิธี

กระทำความผิดเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การกระทำความผิดซ้ำอีก จึงสมควรใช้มาตรการตามกฎหมายว่าด้วย

การคุ้มครองเด็กเพื่อให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กอายุ 10 แต่ไม่เกิน 12 ปี

ได้รับผลดียิ่งขึ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญเพื่อให้เด็กกลับตัวเป็นคนดีและเป็น

ประชากรที่มีคุณภาพกลับคืนสู่สังคมได้ต่อไป

นอกจากนี้การแก้กฎหมายดังกล่าวยังสอดคล้องกับข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 10 (ค.ศ. 2007)

(General Comment No. 10 (2007) Children’s rights in juvenile justice) ที่ออกตามอนุสัญญา

ว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) และประเทศไทยได้ตอบรับและ

ให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ

.2559 ถึง พ.ศ. 2563) อีกด้วย

ประเด็นที่มีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29)

พ.ศ. 2565 สรุปได้ดังนี้ คือ

1.ปรับแก้เกณฑ์อายุเด็กซึ่งกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ จากเดิมอายุไม่เกิน 10 ปี เป็น

อายุไม่เกิน 12 ปี (มาตรา 73 วรรคหนึ่ง)

2.ปรับแก้เกณฑ์อายุเด็กซึ่งกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลกำหนดเงื่อนไขเพื่อ

ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 74 จากเดิมอายุกว่า 10 ปีแต่ไม่เกิน 15 ปี เป็น อายุกว่า 12 ปีแต่

ไม่เกิน 15 ปี (มาตรา 74)
-
อ้างอิงพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()