ประมวลกฎหมายอาญาแก้ไขใหม่ : เกี่ยวกับอายุเด็กที่กระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ
-
เดิมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73 กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษแม้ได้กระทำ
การอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ที่อายุไม่เกิน 10 ปี แต่ปัจจุบันได้มีการปรับแก้กำหนดเกณฑ์อายุ
เด็กจากอายุไม่เกิน 10 ปี เป็น อายุไม่เกิน 12 ปี ทั้งนี้เหตุผลที่สนับสนุนการปรับแก้เกณฑ์อายุเด็กในครั้ง
นี้ก็เนื่องจากว่าข้อมูลทางการแพทย์พบว่าเด็กอายุ 12 ปีกับเด็กอายุ 10 ปี ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
และเป็นช่วงอายุที่พัฒนาการด้านความคิด สติ ปัญญา จริยธรรม และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ยังไม่เจริญ
เติบโตเต็มที่และยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้อย่างดีพอ และเด็ก
ในช่วงวัยนี้ก็ยังอยู่ในวัยการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่สมควรให้เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญาซึ่งมี
ขั้นตอนการดำเนินการบางประการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และอาจทำให้เด็กเรียนรู้วิธี
กระทำความผิดเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การกระทำความผิดซ้ำอีก จึงสมควรใช้มาตรการตามกฎหมายว่าด้วย
การคุ้มครองเด็กเพื่อให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กอายุ 10 แต่ไม่เกิน 12 ปี
ได้รับผลดียิ่งขึ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญเพื่อให้เด็กกลับตัวเป็นคนดีและเป็น
ประชากรที่มีคุณภาพกลับคืนสู่สังคมได้ต่อไป
นอกจากนี้การแก้กฎหมายดังกล่าวยังสอดคล้องกับข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 10 (ค.ศ. 2007)
(General Comment No. 10 (2007) Children’s rights in juvenile justice) ที่ออกตามอนุสัญญา
ว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) และประเทศไทยได้ตอบรับและ
ให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ
.2559 ถึง พ.ศ. 2563) อีกด้วย
ประเด็นที่มีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29)
พ.ศ. 2565 สรุปได้ดังนี้ คือ
1.ปรับแก้เกณฑ์อายุเด็กซึ่งกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ จากเดิมอายุไม่เกิน 10 ปี เป็น
อายุไม่เกิน 12 ปี (มาตรา 73 วรรคหนึ่ง)
2.ปรับแก้เกณฑ์อายุเด็กซึ่งกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลกำหนดเงื่อนไขเพื่อ
ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 74 จากเดิมอายุกว่า 10 ปีแต่ไม่เกิน 15 ปี เป็น อายุกว่า 12 ปีแต่
ไม่เกิน 15 ปี (มาตรา 74)
-
อ้างอิงพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565