admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ระวังนะ จอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ รถสูญหาย ประกันไม่จ่ายให้นะจ๊ะ
โดย admin advanced law - จันทร์, 3 เมษายน 2023, 03:21PM
 
ระวังนะ จอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ รถสูญหาย ประกันไม่จ่ายให้นะจ๊ะ
-

กฎหมายเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย มีการกำหนดข้อยกเว้นว่า ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยที่เกิดขึ้นเพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ (ตามมาตรา 879 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

มาตรา 879 "ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์

ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยอันเป็นผลโดยตรงมาแต่ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น"

มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2559 ได้วินิจฉัยตัดสินไว้ว่า "พฤติกรรมของโจทก์ที่จอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วลงจากรถไปซื้อของ เป็นการขาดความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์ หากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตามสมควรโดยดับเครื่องยนต์และล็อคประตูรถยนต์ให้เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าคนร้ายไม่สามารถลักรถยนต์ของโจทก์ไปได้โดยง่าย เหตุที่คนร้ายลักรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคหนึ่ง"

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าพฤติการณ์อย่างใดเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ประกอบเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ใช่ว่าการติดเครื่องรถไว้ในขณะลงไปซื้อของจะเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายร้ายทุกกรณีแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็แล้วแต่ หากจะลงไปซื้อของก็ควรจอดรถดับเครื่องยนต์ล็อคประตูให้เรียบร้อยจะเป็นการดีที่สุดนะจ๊ะ

-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร
-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ
-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร
-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่
Email : lawyer_ram@hotmail.com
Website : www.advancedlaw9.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17382/2557 คดีทางการแพทย์
โดย admin advanced law - เสาร์, 18 มีนาคม 2023, 07:29PM
 
กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17382/2557
-
 ฎีกาที่ 17382/2557 จําเลยที่ 1 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและมีฐานะ
เป็นนิติบุคคล เป็นผู้กํากับดูแลโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จําเลยที่ 2 รับราชการเป็นแพทย์
ประจําโรงพยาบาลดังกล่าว ตําแหน่งหัวหน้างานศัลยกรรมตกแต่งและศูนย์ดูแลผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำ
ร้อนลวก โจทก์ติดต่อใช้บริการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีกับจําเลยที่ 2 เพื่อทําศัลยกรรม
ใบหน้าให้บริเวณคางเล็กลง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542 จําเลยที่ 2 ทําการผ่าตัด
ศัลยกรรมให้โจทก์ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยลดกระดูกโหนกแก้ม และกระดูกขากรรไกร
ล่างบริเวณมุมคางทั้งสองข้าง แต่ปรากฏว่ากระดูกขากรรไกร (กระดูกกราม) ด้านขวาของโจทก์
แตกร้าว หลังการผ่าตัดโจทก์มีปัญหาสบฟันและเกิดหนอง จําเลยที่ 2 ทําการผ่าตัดรักษาให้
โจทก์อีกหลายครั้งแต่อาการไม่ดีขึ้น ต่อมาโจทก์ไปรับการรักษากับทันตแพทย์ที่คณะทันตแพทย์
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทําการผ่าตัดเอากระดูกที่แตกร้าวออกแล้วตัดกระดูกซี่โครง
ของโจทก์ไปใส่แทน
ปัญหาประการแรกที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยทั้งสองมีว่า จําเลยที่ 2 กระทํา
ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ปัญหานี้จําเลยทั้งสองฎีกาว่า จําเลยที่ 2 ทําการรักษาโจทก์ถูกต้อง
ตามหลักการแพทย์แล้ว ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง... ฯลฯ... น่าเชื่อตาม
ที่โจทก์เบิกความ การที่จําเลยไม่ใช้ลวดยึดตรึงฟันบนและฟันล่างของโจทก์ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟัน
และกระดูกขากรรไกรเคลื่อน ทั้งไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด โดยที่ไม่
ปรากฏว่ามีเหตุสมควรประการใดจึงไม่ดําเนินการดังกล่าวเสียตั้งแต่ต้น เพิ่งมาดําเนินการมัดฟัน
บนและฟันล่างเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันมิให้กระดูกขากรรไกรเคลื่อนเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2542
หลังจากผ่าตัดศัลยกรรมโจทก์นานถึง 22 วัน เมื่อพบว่าการสบฟันของโจทก์เอียงไปข้างขวา
แล้ว เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแทนที่จะป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ ทั้งเลือกใช้วิธีที่ได้ผลในการ
รักษาต่ำกว่า ถือว่าเป็นการรักษาที่ผิดวิธี ทําให้เกิดการอักเสบ มีหนอง และเกิดปัญหาอื่นที่
ต้องแก้ไขตามมาทั้งปัญหาการสบฟันผิดปกติ อาการชาบริเวณคาง เหงือก ฟันล่างถอยร่น ริม
ฝีปากเบี้ยว ฟันกรามด้านซ้ายล้ม ฟันกรามด้านขวาโยกคลอน 4 ซี่ ถูกถอนไปแล้ว 1 ซี่
รวมทั้งอาการตาค้าง เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความบกพร่องไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและ
พฤติการณ์ที่จําเลยที่ 2 แพทย์ผู้ทําหน้าที่ผ่าตัดศัลยกรรมพึงปฏิบัติในการผ่าตัดโดยตรง มิใช่
เกิดจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตัวและไม่รักษาความสะอาดให้ถูกวิธีตามคําสั่งของจําเลยที่ 2 หรือไม่ไป
พบแพทย์ตามนัดดังที่จําเลยทั้งสองฎีกา จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ 2 ทําให้
โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือว่าจําเลยที่ 2 กระทําละเมิดต่อโจทก์ ถึงแม้โจทก์จะลงชื่อให้
ความยินยอม ตามหนังสือยินยอมให้ทําการรักษาเอกสารหมาย ล.1 ว่า หากโจทก์ได้รับ
อันตรายเนื่องจากการรักษา โจทก์จะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องดําเนินคดี ในทางอาญาและทาง
แพ่งแก่เจ้าหน้าที่และส่วนราชการเจ้าสังกัดของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีก็เป็นเรื่องความยินยอม
ให้จําเลยที่ 2 กระทําการผ่าตัดศัลยกรรมตามแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง คือถูกต้องตาม
มาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์โดยใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์อย่างผู้มีวิชาชีพแพทย์
พึงปฏิบัติต่อผู้รับการรักษา มิได้กินความถึงการรักษาที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยจงใจ หรือ
ประมาทเลินเล่อด้วย เมื่อฟังได้ว่าจําเลยที่ 2 ผ่าตัดศัลยกรรมให้แก่โจทก์โดยประมาทเลินเล่อ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จําเลยทั้งสองจะอ้างความยินยอมเป็นข้อยกเว้นหรือจํากัดความ
รับผิดเพื่อละเมิดมิได้....
พิพากษา ให้จําเลยที่ 1 ชําระเงิน 1,082,850 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
นับแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระ เสร็จแก่โจทก์
-
หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17382/2557
 ในคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คือกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และจำเลยที่ 2
แพทย์ผู้ทำการศัลยกรรมใบหน้า เมื่อแพทย์ทำการรักษาดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์
ได้รับความทุกข์ทรมานทางจิตใจจากใบหน้าที่ไม่เรียวลงและสวยงามอย่างที่คาดหวัง จึงไม่อยาก
ออกไปพบปะผู้คน ขาดความมั่นใจในตัวเอง ชอบเก็บตัวไม่กล้าออกไปรับประทานอาหาร
นอกบ้าน เสียใจเมื่อเห็นใบหน้าตัวเอง รู้สึกท้อแท้และหมดสิ้นทุกอย่าง ถือว่าส่งผลกระทบต่อการ
ดําเนินชีวิตตามปกติของโจทก์เป็นอย่างมาก ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ตามสมควร
 กรณีตามคำพิพากษานี้ จำเลยที่ 1 เป็นหน่วยงานของรัฐ เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้
ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 ในฐานะหน่วยงานของรัฐมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาเงิน
ที่จ่ายไปคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ต่อไป
 มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการให้การต่อสู้คดีของจำเลยว่า โจทก์ได้ลงชื่อให้ความยินยอม
ตามหนังสือยินยอมให้ทําการรักษาเอกสารหมาย ล.1 ว่า หากโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการรักษา
โจทก์จะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องดําเนินคดี ในทางอาญาและทางแพ่งแก่เจ้าหน้าที่และส่วนราชการ
เจ้าสังกัดของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี นั้น ศาลฎีกาได้อธิบายความยินยอมดังกล่าว ว่าเป็นเรื่อง
ความยินยอม ให้จําเลยที่ 2 กระทําการผ่าตัดศัลยกรรมตามแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง คือถูกต้อง
ตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์โดยใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์อย่างผู้มีวิชาชีพแพทย์
พึงปฏิบัติต่อผู้รับการรักษา
เมื่อจำเลยที่ 2 ผ่าตัดศัลยกรรมให้แก่โจทก์โดยประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่โจทก์ จําเลยทั้งสองจะอ้างความยินยอมเป็นข้อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดไม่ได้
ดังนั้น แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาล ต้องระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่
ให้เป็นไปตามมาตรฐานของวิชาชีพ หากประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหาย อาจต้องรับผิด
ชดใช้ค่าเสียหายตามกรณีศึกษาในคดีนี้
-
หมายเหตุโดย: ดร.พิชัย โชติชัยพร ผู้จัดการโครงการ "เรียนกฎหมายอย่างง่าย Easy Law"
สอบถามรายละเอียดโครงการ หรือปรึกษาเรื่องการศึกษากฎหมายได้ที่ Line: 0862310999
-
อ่านคำพิพากษาฉบับยาวได้ที่ www.lawwebservice.com/learning
ในห้องเรียนกฎหมายการแพทย์
-


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ลูกค้าธนาคารใช้แอพพลิเคชั่นธนาคาร โดนดูดเงิน ธนาคารต้องร่วมรับผิดกึ่งหนึ่ง
โดย admin advanced law - ศุกร์, 17 มีนาคม 2023, 12:39PM
 
ลูกค้าธนาคารใช้แอพพลิเคชั่นธนาคาร โดนดูดเงิน ธนาคารต้องร่วมรับผิดกึ่งหนึ่ง
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2564

จำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ และให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับการเงิน รับฝากเงิน และให้บริการการใช้หรือโอนเงินทาง xxx application online ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ จึงเป็นผู้รับฝากซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม

ปรากฏว่า ระหว่างเวลา 23.41 นาฬิกา ของวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ถึงเวลา 2.01 นาฬิกา ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 เงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่นจำนวน 3 บัญชี รวม 12 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท การโอนเงินที่เป็นการโอนจำนวนย่อยหลายครั้งติดต่อกันในช่วงเวลาเดียวกันในเวลากลางคืน จากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่นโดยเป็นบัญชีเดียวกันหรือชื่อบัญชีเดียวกัน ย่อมเป็นพฤติกรรมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติ จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะต้องทราบถึงวิธีการดังกล่าวและย่อมสังเกตได้ว่าเป็นเรื่องผิดปกติและอาจเป็นการกระทำของมิจฉาชีพผู้ประกอบอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการกระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวด้วย

การที่จำเลยแจ้งเตือนให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการต่าง ๆ ระมัดระวังอีเมลหลอกลวงจากมิจฉาชีพหรือที่เรียกว่า Phishing Email มาตลอด โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่า “แจ้งเตือน กรุณาอย่าหลงเชื่ออีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ xxx ไม่มีนโยบายในการส่งอีเมลใด ๆ เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูล ชื่อผู้ใช้งาน Password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยเด็ดขาด” และ “แจ้งเตือนโปรดระวังอีเมลแอบอ้าง (Phishing Email) ว่าเป็นอีเมลจากธนาคารหลอกลวงให้คลิกเพื่อไปยังเว็บไซต์ปลอมเพื่อความปลอดภัยกรุณาพิมพ์ www.xxx.com” ตามเว็บไซต์ของจำเลยในการเข้าระบบ ลูกค้าต้องใช้ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ลูกค้าสมัครไว้กับธนาคารเข้าสู่ระบบและต้องใส่รหัสโอทีพี (OTP หรือ One Time Password) ที่ระบบธนาคารส่งให้ที่หมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าเพื่อยืนยันการทำธุรกรรมอีกขั้นตอนหนึ่งจึงจะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญชีของตนได้ มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการป้องกันความเสียหายแก่การทำธุรกรรมทางการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไม่ให้ลูกค้าที่ใช้บริการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงเพื่อให้ส่งมอบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้เพื่อนำไปใช้กระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบซึ่งเป็นข้อควรระวังในด้านของลูกค้า แต่มาตรฐานของจำเลยในการป้องกันการโอนเงินที่เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบดังกล่าวควรจะมีอยู่อย่างไร จำเลยควรจะป้องกันหรือระงับยับยั้งการโอนเงินที่มีความผิดปกติดังกล่าวเมื่อมีการโอนเงินผ่านไปแล้วกี่ครั้ง และเหตุใดพนักงานของจำเลยเพิ่งจะโทรศัพท์แจ้งเตือนไปยังโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินดังกล่าวครั้งที่ 12 และโอนเงินไปรวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท แล้ว ซึ่งมาตรการในการป้องกันความเสียหายที่เหมาะสมหรือสมควรดังกล่าวอยู่ในความรู้เห็นของจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ในส่วนนี้ แต่จำเลยกลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีมาตรการในการป้องกันหากเกิดการโอนเงินหรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบในส่วนนี้เลยและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีมาตรการในการป้องกันความเสียหายในส่วนนี้อย่างเพียงพอ แม้ในการโอนเงินจำเลยได้มีข้อความแจ้งเตือนไปยังโจทก์ทุกครั้งที่ทำการโอนเงินรวม 12 ครั้ง และพนักงานของจำเลยได้โทรศัพท์ไปหาโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินครั้งที่ 12 แล้ว มาตรการดังกล่าวถือว่าไม่เพียงพอต่อการป้องกันการโอนเงินหรือการทำรายการหรือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบ

นอกจากนี้ได้ความว่าโจทก์มิใช่รายแรกที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้และมีอีกหลายรายที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบถึงพฤติกรรมการหลอกลวงและวิธีการโอนเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวเช่นเดียวกับคดีนี้มาก่อนทั้งเหตุเกิดซ้ำ ๆ กับลูกค้าจำนวนมาก จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะและในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมระบบมีความสามารถในการตรวจสอบหรือทราบถึงความผิดปกติในการทำรายการต่าง ๆ ได้แต่เพียงฝ่ายเดียวยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังและหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายดังเช่นที่เกิดในคดีนี้อีก หาใช่ว่าหากมีการกรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่สามารถยืนยันตัวตนได้แล้วบุคคลดังกล่าวจะสามารถดำเนินการธุรกรรมอย่างใดก็ได้โดยจำเลยไม่มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้มีการโอนเงินที่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการ ค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ได้รับอีเมลที่ไม่ได้มาจากจำเลยและมีข้อความเชื่อมโยงหรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่เลียนแบบเว็บไซต์ธนาคารจำเลย และโจทก์กรอกชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ในเว็บไซต์ดังกล่าว ทำให้มีคนร้ายทราบถึงชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ของโจทก์ และนำไปใช้สมัคร xxx App ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโจทก์ยังได้กรอกหมายเลขโอทีพี (OTP หรือ One Time password) ในเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถสมัครใช้บริการ xxx App ได้สำเร็จและเกิดการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีอื่น โจทก์เป็นผู้ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก่อนเกิดเหตุเป็นเวลากว่า 10 ปี ทั้งตามใบแจ้งรายการบัญชีออมทรัพย์โจทก์ก็ได้ทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง โจทก์ย่อมมีความเข้าใจในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดังกล่าวและย่อมทราบถึงคำเตือนของจำเลยตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ของจำเลย โจทก์จึงควรมีความระมัดระวังในการตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมดังกล่าวมากกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายด้วย พฤติกรรมของโจทก์และจำเลยจึงถือว่ามีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในคดีนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันและเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นเงิน 550,000 บาท เมื่อค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดเป็นหนี้เงินหากชำระล่าช้าย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งค่าเสียหายของหนี้เงินตามปกติย่อมคิดกันในรูปของดอกเบี้ย จึงเห็นควรกำหนดให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง โดยควรให้ในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่อัตราร้อยละ 5 ต่อปี

-
ประเด็นสำคัญตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว คือ

1.จำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ฯ เป็นผู้รับฝากซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะจึงต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม

2. เงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่น 12 ครั้ง เป็นเงิน 1,099,999 บาท การโอนเงินที่เป็นการโอนจำนวนย่อยหลายครั้งติดต่อกันในช่วงเวลาเดียวกันในเวลากลางคืน เป็นพฤติกรรมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติ จำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะต้องทราบถึงวิธีการดังกล่าวและย่อมสังเกตได้ว่าเป็นเรื่องผิดปกติและอาจเป็นการกระทำของมิจฉาชีพผู้ประกอบอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการกระทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ชอบดังกล่าวด้วย

3. การที่จำเลยมีการแจ้งเตือนให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการต่าง ๆ ระมัดระวังอีเมลหลอกลวงจากมิจฉาชีพหรือที่เรียกว่า Phishing Email มาตลอดนั้น ถือว่ายังไม่เพียงพอ เพราะจำเลยควรจะต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการป้องกันหรือระงับยับยั้งการโอนเงินที่มีความผิดปกติดังกล่าวเมื่อมีการโอนเงินผ่านไปแล้วกี่ครั้ง (คดีนี้พนักงานของจำเลยมีการแจ้งความผิดปกติแก่โจทก์หลังจากเงินถูกโอนไปแล้วถึง 12 ครั้ง) และโจทก์ก็ไม่ใช่รายแรกที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้และมีอีกหลายรายที่ถูกหลอกลวงในลักษณะนี้ ถือว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น

4.การที่โจทก์ได้รับอีเมลที่ไม่ได้มาจากจำเลยและมีข้อความเชื่อมโยงหรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่เลียนแบบเว็บไซต์ธนาคารจำเลย โดยโจทก์กรอกชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ในเว็บไซต์ดังกล่าว ทำให้มีคนร้ายทราบถึงชื่อผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (Password) ของโจทก์และนำไปใช้สมัคร xxx App ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโจทก์ยังได้กรอกหมายเลขโอทีพี (OTP หรือ One Time password) ในเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถสมัครใช้บริการ xxx App ได้สำเร็จและเกิดการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปยังบัญชีอื่น ถือว่าโจทก์เองก็ขาดความระมัดระวังในการตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมดังกล่าวซึ่งควรจะมีความระมัดระวังมากกว่านี้ เพราะโจทก์เองก็เป็นผู้ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก่อนเกิดเหตุเป็นเวลากว่า 10 ปีและยังมีการเตือนจากจำเลยในเว็บไซต์ของจำเลย ถือว่าโจทก์ก็มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายด้วย

5.เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่่างก็มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นเงิน 550,000 บาท (โจทก์โดนดูดเงินไป 1,099,999 บาท ศาลให้จำเลยรับผิด 550,000 บาท)

-
ความรู้กฎหมายโดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์, น.บ., น.ม., นบท., วท.บ.(จิตวิทยา).

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> กรณีศึกษาจากคําพิพากษาฎีกาที่ 205/2565 (คดีหวย 30 ล้านบาท)
โดย admin advanced law - พุธ, 8 มีนาคม 2023, 08:20AM
 
กรณีศึกษาจากคําพิพากษาฎีกาที่ 205/2565 (คดีหวย 30 ล้านบาท)
-
คําพิพากษาฎีกาที่ 205/2565 (คดีหวย 30 ล้านบาท) ที่โจทก์ฎีกาว่า
พยานโจทก์แต่ละปากต่างเบิกความในเรื่องที่เกี่ยวกับ การกระทําของตนและคนที่
ตนเกี่ยวข้องเมื่อประมวลเข้าด้วยกันแล้ว ลงรอยเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างสนิท
ไม่ขัดแย้งกัน จึงต้องรับฟังว่า เป็นความจริงทั้งหมดนั้น เห็นว่า "แม้โจทก์มีพยาน
บุคคลหลายปากมา เบิกความยืนยันและสนับสนุนถึงเหตุการณ์ที่โจทก์ไปรับสลาก
กินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งที่ตลาดเรดซิตี้ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560
สอดคล้องต้องกันก็ตามแต่คําเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวขัดต่อ สภาพความ
เป็นจริงของเหตุการณ์ที่ควรจะเป็นอย่างเห็นได้ชัดและ เป็นพิรุธดังได้วินิจฉัยมา
ประกอบกับได้ความว่าโจทก์เดินทางไป ตลาดเรดซิตี้และกระทํากิจกรรมลักษณะ
เดียวกันในตลาดบ่อยครั้ง และพยานโจทก์ส่วนมากมาเบิกความต่อศาลหลังเกิด
เหตุแล้วเป็น เวลานานอาจเป็นเหตุให้พยานโจทก์สับสนเกี่ยวกับวันที่พบเห็นพูดคุย
กับโจทก์และจดจําเหตุการณ์คลาดเคลื่อนไปก็เป็นได้ นอกจากนี้ยัง ได้ความจาก
ร้อยตํารวจเอกจิรยุทธ์ตอบทนายจําเลยถามค้านว่า พลตํารวจตรีสุทธิ พวงพิกุล
ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี เรียก านวนการสอบสวนคดีเรื่องนี้ไป
ตรวจหลายครั้งและบอก ร้อยตํารวจเอกจิรยุทธ์ว่า เกลาให้มันกลม เพื่อให้คําให้การ
ของพยาน บุคคลสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด หลังจากนั้นโจทก์ นางสาว
รัตนาพรและนางสาวพัชริดาก็มาขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําให้การอีกหลายครั้ง
เพื่อให้ข้อเท็จจริงสอดคล้องกัน นับเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทําให้พยานบุคคลของโจทก์มา
เบิกความในชั้นพิจารณาได้สอดคล้องต้องกัน พยานบุคคลของโจทก์จึงไม่อาจรับฟัง
เป็นความจริงได้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์กับนางสาวรัตนาพรซื้อขายสลากกินแบ่ง
รัฐบาลทาง แอปพลิเคชันไลน์ เมื่อนางสาวรัตนาพรได้กําหนด หมาย และทําการ
คัดเลือกสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งซึ่งลงท้ายด้วยเลข 26 แยกมาจาก
สลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับอื่นแล้ว เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 460 สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นโดย สมบูรณ์ตามมาตรา 453 กรรมสิทธิ์ในสลาก
กินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูก รางวัลที่หนึ่งตกเป็นของโจทก์ตามมาตรา 45 โจทก์จึงมี
อํานาจฟ้องนั้น เห็นว่า สัญญาเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทําคําเสนอและอีก
ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาสนองรับคําเสนอถูกต้องตรงกัน ค่าเสนอจึงต้องมีข้อความ
ชัดเจนเพียงพอที่จะถือเป็นข้อผูกพันในสัญญาได้ สําหรับ สลากกินแบ่งรัฐบาลมี
หมายเลขหกหลักเป็นเกณฑ์ชี้ขาดในการถูก รางวัลสําคัญ และกรณีที่ขายสลากเป็น
ชุดประกอบด้วยหมายเลขหก หลักตรงกันหลายฉบับมักจะขายเกินกว่าราคาที่ระบุ
ไว้หน้าสลาก ดังนั้น คําเสนอในการซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นชุดอย่างน้อย
จะต้อง ปรากฏหมายเลขหกหลักและราคาที่จะซื้อขายอยู่ด้วย การที่โจทก์สั่งซื้อ
สลากกินแบ่งรัฐบาลเลขท้าย 2 ตัว หมายเลข 26 จากนางสาว รัตนาพร เมื่อวันที่ 21
ตุลาคม 2560 ตามสําเนาแอปพลิเคชันไลน์ เอกสารหมาย จ.3 ไม่มีรายละเอียด
ชัดเจนพอที่จะถือว่าเป็นคําเสนอได้ คงเป็นเพียงการแจ้งความประสงค์ของโจทก์
ให้นางสาวรัตนาพรทราบ ว่าต้องการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเลขท้าย 2 ตัว หมายเลข
26 เพื่อ ให้นางสาวรัตนาพรจัดหาสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีหมายเลขดังกล่าว
มา เสนอขายโจทก์เท่านั้น การที่นางสาวรัตนาพรได้คัดเลือกสลากกินแบ่ง รัฐบาล
ชุดที่เลขท้าย 2 ตัว หมายเลข 26 แยกมาจากสลากกินแบ่ง รัฐบาลฉบับอื่นเพื่อเตรียม
ไว้ขายให้โจทก์ จึงไม่ทําให้เกิดสัญญา ซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดดังกล่าว
ระหว่างโจทก์กับนางสาวรัตนาพรอันจะทําให้กรรมสิทธิ์ในสลากกินแบ่งรัฐบาล
ตกเป็นของ โจทก์ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมามีข้อ
พิรุธน่าสงสัย ทั้งยังขัดแย้งกับข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และไฟล์ เสียงการ
สนทนาที่คัดลอกมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโจทก์กับ บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็น
พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์หลาย ประการดังที่ได้วินิจฉัยมา ข้อเท็จจริง
รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งจากนางสาว
รัตนาพร ดังนั้น สลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่จําเลยนําไปรับเงินรางวัลย่อมไม่ใช่
ทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 2 (4) ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องและ
พิพากษายกฟ้องต้องกันมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น"
-
ข้อสังเกต ในคดีนี้โจทก์ (นาย ป.) นำสืบพยานหลักฐานไม่ได้ว่า ตนเองเป็น
เจ้าของสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดดังกล่าว และมีเรื่องต่อเนื่องเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับการ
แจ้งความเท็จ เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับการนำสืบพยานหลักฐานในคดีที่น่าสนใจ
และเป็นข้อคิดสำหรับผู้ที่แจ้งความเท็จ เบิกความเท็จ เมื่อมีความผิดทางอาญา
ย่อมได้รับความเสียหายต่อตนเอง
-
สอบถามปัญหาการเรียนกฎหมายได้ที่ อ.พิชัย โชติชัยพร
อีเมล์ altlimited@yahoo.com

-


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2565
โดย admin advanced law - พุธ, 8 มีนาคม 2023, 08:05AM
 
กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2565
-
จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวกับจำเลย
ได้แก่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และหมายเลขบัตรเอทีเอ็มที่จำเลยเคยสมัครใช้
บริการกับโจทก์ก่อนหน้านั้น ผ่านระบบแอปพลิเคชั่นที่โจทก์จัดไว้แก่บุคคลทั่วไปผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตสำหรับสมาชิกขอใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกรรมถอนเงิน โอนเงิน หรือ
ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อโจทก์ตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
ของจำเลยจริง โจทก์ส่งรหัสผ่านหรือที่เรียกว่าโอทีพีแก่จำเลยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลย
ที่แจ้งทำธุรกรรมกับโจทก์เมื่อมีการยืนยันหมายเลขรหัสโอทีพีที่โจทก์ส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
ดังกล่าวส่งกลับมาถูกต้องโจทก์จึงอนุมัติให้จำเลยใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ได้ หลังจากนั้นมีผู้ส่ง.
คำสั่งขอถอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรเครดิตของจำเลย โจทก์เชื่อว่าเป็นคำสั่งของ
จำเลยจริงจึงส่งรหัสโอทีพีอีกรหัสหนึ่งสำหรับธุรกรรมในการถอนเงินครั้งนี้ไปยังหมายเลขโทรศัพท์
ของจำเลยในลักษณะเช่นเดียวกัน โจทก์ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจึงอนุมัติให้ทำรายการดังกล่าว
ตามคำสั่งจนเสร็จสิ้น
แม้จำเลยจะอ้างว่าปัจจุบันไม่ใด้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว ทั้งไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด แต่
เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยได้รับการติดต่อจากคนร้าย และคนร้ายให้จำเลยเปิดใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม
หลังจากนั้น จึงพบว่ามีการโอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์และจากบัตรเครดิตไปยังบุคคลภายนอก
การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อปล่อยปละละเลยให้คนร้ายนำข้อมูลของจำเลยไปใช้
ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบ
เยี่ยงผู้มีวิชาชีพ นั้น แม้โจทก์จะประกอบกิจการธนาคารอันเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน
และออกแบบธุรกรรมอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม แต่ข้อมูลที่ใช้ในการทำ
ธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ล้วนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของจำเลยที่เป็นข้อมูลที่อยู่ในความรู้เห็น
ของจำเลยโดยเฉพาะ ยากที่บุคคลอื่นใดจะล่วงรู้ข้อมูลเหล่านั้นได้ จะถือว่าโจทก์ปล่อยปละละเลย
เป็นเหตุให้คนร้ายนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์
หาได้ไม่
ที่จำเลยคิดว่าที่คนร้ายระบุให้จำเลยไปทำบัตรเอทีเอ็มที่ธนาคารโจทก์ อาจเป็นเพราะระบบ
ความปลอดภัยของโจทก์ยังไม่ได้มาตรฐานเช่นของสถาบันการเงินอื่น นั้น เป็นเพียงการคิดวิเคราะห์
ของจำเลย กับอ้างเพียงแต่ลอย ๆ ว่าไม่เคยได้รับหรือทราบรหัสโอทีพีที่โจทก์อ้างว่าส่งให้จำเลย
ทั้งที่ยอมรับว่าเคยใช้โทรศัพท์หมายเลขที่โจทก์ใช้ในการติดต่อธุรกรรมดังกล่าว ทั้งเป็นการยากที่
บุคคลอื่นจะใช้ข้อมูลของจำเลยและรหัสโอทีพีที่รับส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยเพื่อสมัคร
เข้ารับบริการและออกคำสั่งถอนเงินจากบัตรเครดิตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโจทก์ จำเลยต้อง
รับผิดชำระหนี้โจทก์

ข้อสังเกตจากคำพิพากษาศาลฎีกา
กรณีตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้ ในประเด็นที่จำเลยอ้างว่า ธนาคารปล่อยปละละเลย
เป็นเหตุให้คนร้ายนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ นั้น
มีข้อพิจารณาว่า จำเลยในคดีนี้ เคยใช้โทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวในคดี ใช้ในการติดต่อธุรกรรมกับ
ทางธนาคารา และกล่าวอ้างว่าเลิกใช้งานแล้ว กรณีนี้เป็นการยากที่บุคคลอื่นจะใช้ข้อมูลของจำเลยและ
รหัสโอทีพีที่รับส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยเพื่อสมัครเข้ารับบริการและออกคำสั่งถอนเงินจาก
บัตรเครดิตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโจทก์ (ธนาคาร) เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานในการนำสืบให้ศาล
เห็นได้ว่า ธนาคารมีความบกพร่อง ปล่อยปละละเลยทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้
ให้แก่โจทก์ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตที่ได้ทำไว้กับธนาคาร.
-
สอบถามปัญหาการเรียนกฎหมายได้ที่ อ.พิชัย โชติชัยพร
อีเมล์ altlimited@yahoo.com
-




หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()