กรณีศึกษาจากคําพิพากษาฎีกาที่ 205/2565 (คดีหวย 30 ล้านบาท)
-
คําพิพากษาฎีกาที่ 205/2565 (คดีหวย 30 ล้านบาท) ที่โจทก์ฎีกาว่า
พยานโจทก์แต่ละปากต่างเบิกความในเรื่องที่เกี่ยวกับ การกระทําของตนและคนที่
ตนเกี่ยวข้องเมื่อประมวลเข้าด้วยกันแล้ว ลงรอยเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างสนิท
ไม่ขัดแย้งกัน จึงต้องรับฟังว่า เป็นความจริงทั้งหมดนั้น เห็นว่า "แม้โจทก์มีพยาน
บุคคลหลายปากมา เบิกความยืนยันและสนับสนุนถึงเหตุการณ์ที่โจทก์ไปรับสลาก
กินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งที่ตลาดเรดซิตี้ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560
สอดคล้องต้องกันก็ตามแต่คําเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวขัดต่อ สภาพความ
เป็นจริงของเหตุการณ์ที่ควรจะเป็นอย่างเห็นได้ชัดและ เป็นพิรุธดังได้วินิจฉัยมา
ประกอบกับได้ความว่าโจทก์เดินทางไป ตลาดเรดซิตี้และกระทํากิจกรรมลักษณะ
เดียวกันในตลาดบ่อยครั้ง และพยานโจทก์ส่วนมากมาเบิกความต่อศาลหลังเกิด
เหตุแล้วเป็น เวลานานอาจเป็นเหตุให้พยานโจทก์สับสนเกี่ยวกับวันที่พบเห็นพูดคุย
กับโจทก์และจดจําเหตุการณ์คลาดเคลื่อนไปก็เป็นได้ นอกจากนี้ยัง ได้ความจาก
ร้อยตํารวจเอกจิรยุทธ์ตอบทนายจําเลยถามค้านว่า พลตํารวจตรีสุทธิ พวงพิกุล
ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี เรียก านวนการสอบสวนคดีเรื่องนี้ไป
ตรวจหลายครั้งและบอก ร้อยตํารวจเอกจิรยุทธ์ว่า เกลาให้มันกลม เพื่อให้คําให้การ
ของพยาน บุคคลสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด หลังจากนั้นโจทก์ นางสาว
รัตนาพรและนางสาวพัชริดาก็มาขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําให้การอีกหลายครั้ง
เพื่อให้ข้อเท็จจริงสอดคล้องกัน นับเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทําให้พยานบุคคลของโจทก์มา
เบิกความในชั้นพิจารณาได้สอดคล้องต้องกัน พยานบุคคลของโจทก์จึงไม่อาจรับฟัง
เป็นความจริงได้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์กับนางสาวรัตนาพรซื้อขายสลากกินแบ่ง
รัฐบาลทาง แอปพลิเคชันไลน์ เมื่อนางสาวรัตนาพรได้กําหนด หมาย และทําการ
คัดเลือกสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งซึ่งลงท้ายด้วยเลข 26 แยกมาจาก
สลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับอื่นแล้ว เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 460 สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นโดย สมบูรณ์ตามมาตรา 453 กรรมสิทธิ์ในสลาก
กินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูก รางวัลที่หนึ่งตกเป็นของโจทก์ตามมาตรา 45 โจทก์จึงมี
อํานาจฟ้องนั้น เห็นว่า สัญญาเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทําคําเสนอและอีก
ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาสนองรับคําเสนอถูกต้องตรงกัน ค่าเสนอจึงต้องมีข้อความ
ชัดเจนเพียงพอที่จะถือเป็นข้อผูกพันในสัญญาได้ สําหรับ สลากกินแบ่งรัฐบาลมี
หมายเลขหกหลักเป็นเกณฑ์ชี้ขาดในการถูก รางวัลสําคัญ และกรณีที่ขายสลากเป็น
ชุดประกอบด้วยหมายเลขหก หลักตรงกันหลายฉบับมักจะขายเกินกว่าราคาที่ระบุ
ไว้หน้าสลาก ดังนั้น คําเสนอในการซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นชุดอย่างน้อย
จะต้อง ปรากฏหมายเลขหกหลักและราคาที่จะซื้อขายอยู่ด้วย การที่โจทก์สั่งซื้อ
สลากกินแบ่งรัฐบาลเลขท้าย 2 ตัว หมายเลข 26 จากนางสาว รัตนาพร เมื่อวันที่ 21
ตุลาคม 2560 ตามสําเนาแอปพลิเคชันไลน์ เอกสารหมาย จ.3 ไม่มีรายละเอียด
ชัดเจนพอที่จะถือว่าเป็นคําเสนอได้ คงเป็นเพียงการแจ้งความประสงค์ของโจทก์
ให้นางสาวรัตนาพรทราบ ว่าต้องการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเลขท้าย 2 ตัว หมายเลข
26 เพื่อ ให้นางสาวรัตนาพรจัดหาสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีหมายเลขดังกล่าว
มา เสนอขายโจทก์เท่านั้น การที่นางสาวรัตนาพรได้คัดเลือกสลากกินแบ่ง รัฐบาล
ชุดที่เลขท้าย 2 ตัว หมายเลข 26 แยกมาจากสลากกินแบ่ง รัฐบาลฉบับอื่นเพื่อเตรียม
ไว้ขายให้โจทก์ จึงไม่ทําให้เกิดสัญญา ซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดดังกล่าว
ระหว่างโจทก์กับนางสาวรัตนาพรอันจะทําให้กรรมสิทธิ์ในสลากกินแบ่งรัฐบาล
ตกเป็นของ โจทก์ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมามีข้อ
พิรุธน่าสงสัย ทั้งยังขัดแย้งกับข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และไฟล์ เสียงการ
สนทนาที่คัดลอกมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโจทก์กับ บุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็น
พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์หลาย ประการดังที่ได้วินิจฉัยมา ข้อเท็จจริง
รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งจากนางสาว
รัตนาพร ดังนั้น สลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่จําเลยนําไปรับเงินรางวัลย่อมไม่ใช่
ทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 2 (4) ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องและ
พิพากษายกฟ้องต้องกันมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น"
-
ข้อสังเกต ในคดีนี้โจทก์ (นาย ป.) นำสืบพยานหลักฐานไม่ได้ว่า ตนเองเป็น
เจ้าของสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดดังกล่าว และมีเรื่องต่อเนื่องเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับการ
แจ้งความเท็จ เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับการนำสืบพยานหลักฐานในคดีที่น่าสนใจ
และเป็นข้อคิดสำหรับผู้ที่แจ้งความเท็จ เบิกความเท็จ เมื่อมีความผิดทางอาญา
ย่อมได้รับความเสียหายต่อตนเอง
-
สอบถามปัญหาการเรียนกฎหมายได้ที่ อ.พิชัย โชติชัยพร
อีเมล์ altlimited@yahoo.com
-