admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> อัตราดอกเบี้ยใหม่...ไฉไลต่อลูกหนี้...
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 12 สิงหาคม 2021, 11:26AM
 
อัตราดอกเบี้ยใหม่...ไฉไลต่อลูกหนี้...

-

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีบทบัญญัติที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยใช้บังคับมาตั้งแต่ พ.ศ
.2468 ถึงปัจจุบัน พ.ศ.2564 เป็นเวลา 95 ปีมาแล้วซึ่งถือว่าใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้มีการ
แก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับการระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้
ประชาชนจำนวนมากมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ซึ่งให้มานาน จึงไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เป็นภาระอย่างมากต่อลูกหนี้ซึ่ง
เป็นผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งประชาชนทั่วไปและก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงที่
จะทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงเป็นเหตุผลและที่มาในการปรับปรุงแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและ
กำหนดวิธีการในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

หลักเกณฑ์ในการปรับเปลี่ยนใหม่ที่สำคัญ มี 3 เรื่อง คือ

1.อัตราดอกเบี้ย (อัตราเดิม 7.5 % - อัตราใหม่ 3 %)
ในกรณีที่หากจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดย
บทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี (มาตรา 7 วรรคหนึ่ง)
ซึ่งอัตราร้อยละสามต่อปีนี้ ยังเปิดโอกาสให้สามารถปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้
สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยปกติให้กระทรวงการ
คลังพิจารณาทบทวนทุกสามปีให้ใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ย
เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ (มาตรา 7 วรรคสอง)

2.อัตราดอกเบี้ยผิดนัด (อัตราเดิม 7.5 % - อัตราใหม่ 5 % )
หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตรา
เพิ่มร้อยละสองต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย
ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น นั่นหมายความว่า ดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 คือ 3 %
แล้วบวกเพิ่มอีก 2 % รวมแล้วจึงเป็น 5% แต่อย่างไรก็ตามถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดย
อาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น (ซึ่งก็ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูง
สุดที่กำหนดได้ตามกฎหมาย)

3.วิธีการคิดดอกเบี้ยผิดนัด (ของเดิม คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากต้นเงินทั้งหมด - ของใหม่ คิดดอกเบี้ย
ผิดนัดเฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ผิดนัดเท่านั้้น)
ถ้าลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินเป็นงวด และลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใด เจ้าหนี้อาจ
เรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น และหากมีการกำหนด
ข้อตกลงใดขัดกับข้อความที่กำหนดนี้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ (มาตรา 224/1)

สำหรับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีการประกาศราชกิจจา
นุเบกษาในวันที่ 10 เมษายน 2564 ซึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป (บังคับใช้ 11 เมษายน 2564)
อัตราดอกเบี้ยที่แก้ไขใหม่และวิธีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ย
ในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดฯ นี้ใช้บังคับแต่อย่างใด/.

-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ว่าด้วยเรื่อง "หมิ่นประมาท"
โดย admin advanced law - จันทร์, 26 กรกฎาคม 2021, 02:14PM
 
ว่าด้วยเรื่อง "หมิ่นประมาท"

หมิ่นประมาท คืออะไร ผิดกฎหมายใด มีโทษอย่างไร

  • การหมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง

  • หมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

  • มีอัตราโทษ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ


ใส่ความ คืออะไร

  • ใส่ความ คือ การยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งอาจเป็นความจริงหรือเป็นความเท็จก็ได้ แม้แต่การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้คนอื่นฟังก็อยู่ในความหมายของคำว่า “ใส่ความ” (ฎีกาที่380/2503 )

  • การใส่ความไม่จำกัดวิธีการ อาจเป็นใส่ความด้วยคำพูด ด้วยการให้ความหมาย หรือด้วยการแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือใช้ภาษาใบ้ ใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น การแอบถ่ายภาพคนที่ร่วมประเวณีกันแล้วนำภาพไปให้คนอื่นดู ก็เป็นหมิ่นประมาท เพราะการใส่ความไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูด การเอาภาพให้ดูย่อมเป็นการใส่ความและน่าจะทำให้เสียชื่อเสียงได้ เป็นต้น

  • การใส่ความที่กระทำโดยการโฆษณา (หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา) ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท (สองแสนบาท)


การด่าด้วยคำหยาบคาย เป็นหมิ่นประมาทหรือไม่

  • หมิ่นประมาท ต้องเป็นการใส่ความในข้อเท็จจริงและเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปได้ หากเป็นเพียงคำหยาบคายหรือข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ ย่อมไม่เป็นการหมิ่นประมาท

  • คำด่า เช่น "ไอ้เหี้ย" "ไอ้สัตว์" "ไอ้เปรต" "ไอ้ชาติหมา" "ไอ้ควาย" "ไอ้ฉิบหาย" เป็นแค่เพียงคำหยาบคายเท่านั้น แต่แม้จะไม่ผิดหมิ่นประมาท การด่าด้วยคำหยาบคายเหล่านี้เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ได้


จะพูดยังไงไม่ให้ผิดหมิ่นประมาท

  • กฎหมายบัญญัติข้อยกเว้นของความผิดฐานหมิ่นประมาทไว้ในมาตรา 329 ว่า การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต ในกรณีต่อไปนี้ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่้นประมาท
  • (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรม
  • (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
  • (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
  • (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

  • การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดสุจริต ถือเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครอง ย่อมไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

  • “เพื่อความชอบธรรม” หมายถึง เพื่อความถูกต้อง

  • “ป้องกันตนตามคลองธรรม” หมายความถึง ป้องกันเกี่ยวกับชื่อเสียง หรือประโยชน์ของตนตามวิธีที่ชอบให้พ้นภัย เป็นการป้องกันเกียรติยศชื่อเสียงของตน ไม่ให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังอันเนื่องจากการกระทำของคนอื่น

  • “ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม” หมายถึง ป้องกันไปถึงประโยชน์ส่วนได้เสียที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับตนให้พ้นภัย เช่น อาจมีส่วนได้เสียเพราะเป็นเครือญาติ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือข้าราชการที่ร่วมงานอยู่ในที่เดียวกัน เป็นต้น

  • “การติชมด้วยความเป็นธรรม” หมายถึง การกล่าวด้วยความเข้าใจว่าถูกต้องและสมควรกล่าวตามความรู้สึกของคนทั่วไป มิใช่การแกล้งกล่าวครึ่งๆ กลางๆ บิดเบือน ตัดต่อ หยาบคาย ยั่วยุ คลุมเคลือมุ่งหมายให้เกิดความเข้าใจผิดโกรธเกลียดไม่พอใจหรือดูหมิ่น

  • การติชมต้องเป็นเรื่องที่คนทั่วๆไปจะพูดถึงหรือติชม เช่น กิจการบ้านเมือง กิจการของท้องถิ่น กิจการสาธารณะ พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หรือบุคคลที่เสนอตัวเป็นตัวแทนของชุมชนหรือของประชาชน เช่น นักแสดง พระภิกษุ เป็นต้น

  • การเสนอข่าวของสื่อต่างๆ ที่จะไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ก็อาศัย มาตรา 329 (3) นี้เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิจะกล่าวเกินไปกว่าการแจ้งข่าว หากกล่าวล่วงล้ำขอบเขตในลักษณะที่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอาจไม่ได้รับการยกเว้นความผิด

  • นอกจากนี้การที่คู่ความหรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ก็ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 331

การหมิ่นประมาท จะผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ด้วยหรือไม่

  • ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

  • ดังนั้น การกระทำใดหากเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (เทียบฎีกาที่ 2778/2561)

  • ฉะนั้น การหมิ่นประมาททางสื่้อโซเชียลมีเดียต่างๆ จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 แต่ไม่ผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1)
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> เล่นโซเชียลอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
โดย admin advanced law - เสาร์, 27 กุมภาพันธ์ 2021, 01:23PM
 
ใช้โซเชียลย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในการทำแท้งของหญิงผู้ตั้งครรภ์
โดย admin advanced law - ศุกร์, 26 กุมภาพันธ์ 2021, 03:53PM
 
สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในการทำแท้งของหญิงผู้ตั้งครรภ์
-
 ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการทำให้แท้งลูก ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 มีการแก้ไขมาตรา 301 ซึ่งแต่เดิมนั้นประมวลกฎหมายอาญากำหนดความผิดสำหรับหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองแท้งลูก ประเด็นปัญหานี้มีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่าความผิดมาตรานี้ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่

 ปัญหานี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 วินิจฉัยว่า บทบัญญัติความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ตามมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

โดยให้เหตุผลว่าการทำแท้งหรือการยุติการตั้งครรภ์เป็นปัญหาทั้งทางสังคม ทางการแพทย์ และทางกฎหมายที่มีความละเอียดอ่อน รวมทั้งเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและศีลธรรม ซึ่งถือว่าเป็นความผิดทางอาญาและกำหนดโทษแก่หญิงเพียงฝ่ายเดียวที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก

 ทั้งนี้ ความผิดฐานทำให้แท้งลูกมีเจตนารมณ์และคุณธรรมทางกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ที่กำลังจะเกิดมาแต่เนื่องจากรากฐานของสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมีปัจจัยอื่นที่สำคัญเป็นรากฐานของสังคมประกอบด้วยเช่นเดียวกับการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตของทารกในครรภ์ หากมุ่งคุ้มครองสิทธิของทารกในครรภ์เพียงอย่างเดียว โดยมิได้พิจารณาการคุ้มครองสิทธิของหญิงผู้ตั้งครรภ์อันมีมาก่อนสิทธิของทารกในครรภ์เป็นสิ่งที่อาจส่งผลกระทบให้หญิงไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกลิดรอนหรือจำกัดสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของหญิงซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติ อันเป็นสิทธิพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำการใดหรือไม่กระทำการใดต่อชีวิตและร่างกายของตนได้ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ไปรบกวนหรือล่วงล้ำเข้าไปในสิทธิหรือเสรีภาพของผู้อื่นรวมทั้งยังส่งผลกระทบถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของหญิงตั้งครรภ์ที่ครอบคลุมไปถึงสิทธิในการตัดสินใจของหญิงว่าจะยุติการตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ การคุ้มครองสิทธิของทารกในครรภ์และสิทธิของหญิงตั้งครรภ์ต้องให้เกิดความสมดุลกันโดยอาจต้องนำช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์มาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา การปฏิเสธสิทธิของหญิงโดยปราศจากการกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เหมาะสมดังเช่นมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินความจำเป็น ประกอบกับรัฐมีหน้าที่กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพโดยจัดให้มีมาตรการในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมายไม่กระทบต่อการใช้สิทธิของหญิง และในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าไปดูแลและคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์มิให้ถูกกระทบสิทธิในการมีชีวิตด้วยเช่นกัน บทบัญญัติมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของหญิงเกินความจำเป็น ไม่เป็นไปตามหลักแห่งความได้สัดส่วนและเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังได้ให้ข้อเสนอแนะด้วยว่าประมวลกฎหมายอาญาและ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องการทำแท้งสมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานทำให้แท้งลูก โดยกำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกตามมาตรา 301 รวมทั้งเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูกตามมาตรา 305 ให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งนี่ก็คือที่มาที่ทำให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และมาตรา 305

 ดังนั้น เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วหญิงซึ่งตั้งครรภ์หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ย่อมมีสิทธิที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอีกต่อไป และการทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ คือ (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น (2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง (3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ หรือ (5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผู้กระทำไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใดตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
-
ความรู้กฎหมายโดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์ (นบ.,นม., นบท.)


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่สามีไปค้ำประกันผู้อื่น ต้องรับผิดในฐานะหนี้ร่วมหรือไม่
โดย admin advanced law - ศุกร์, 21 สิงหาคม 2020, 02:25PM
 
ถาม - ภริยาทำหนังสือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมของสามี ที่สามีไปทำสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ให้กับ ล. หากสามีถูกฟ้องให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ภริยาจะต้องร่วมรับผิดในฐานะหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) ด้วยหรือไม่

ตอบ - ไม่เป็นหนี้ร่วม จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4)

ฎีกาที่ 8820/2561 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2561)

การที่จำเลยที่ 2 คู่สมรสทำหนังสือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมของ ส. สามี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ส. ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่ใช่นิติกรรมที่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส เมื่อจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมไว้เป็นการทั่วไป จึงเป็นการแสดงเจตนารับรู้และไม่คัดค้านที่ ส. สามีไปทำนิติกรรม จึงมิใช่เป็นการให้สัตยาบันของคู่สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()