admin advanced law

หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()
รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ประมวลกฎหมายยาเสพติด
โดย admin advanced law - พุธ, 15 ธันวาคม 2021, 10:26AM
 
กฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ = ประมวลกฎหมายยาเสพติด

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564

เหตุผลในการประกาศใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด ก็เพราะว่ากฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมยาเสพติด รวมถึงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับและการดำเนินการตามกฎหมายแต่ละฉบับเป็นหน้าที่และอำนาจของหลายองค์กร ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความสอดคล้องกัน อีกทั้งบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรรวบรวมกฎหมายดังกล่าวจัดทำเป็นประมวลกฎหมายยาเสพติดเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและใช้กฎหมายที่จะรวมอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ

พร้อมกันนี้ได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องกำหนดให้มีระบบอนุญาตเพื่อให้การควบคุมและการใช้ประโยชน์ยาเสพติดในทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ และทางอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติดและการใช้ยาเสพติดในทางที่ไม่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การเสพติดยาเสพติด ซึ่งเป็นการบั่นทอนสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่กระจายยาเสพติดเข้าสู่กลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งกำหนดให้มีระบบคณะกรรมการที่ประกอบด้วยบุคลากรซึ่งมีความหลากหลายจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดนโยบายในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ปราบปราม และควบคุมยาเสพติด และรวมถึงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติดให้เป็นไปด้วยความรอบคอบและมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564

ดาวน์โหลดกฎหมายได้ที่

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> การคุ้มครองสิทธิเด็ก : กรณีการแสดงความรักของพ่อแม่ควรมีขอบเขตแค่ไหนอย่างไร?
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 28 ตุลาคม 2021, 12:31PM
 
จากกรณีมีข่าวดราม่าของนักแต่งเพลงชื่อดังคนหนึ่งที่แสดงความรักต่อลูกสาวซึ่งเป็นเด็ก
ด้วยการจับก้น จับพุงลูกสาว และมีการโพสคลิปดังกล่าวลงในสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้เกิดกระแสการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปซึ่งเสียงส่วนใหญ่มองว่าไม่เหมาะสมนั้น ในฐานะที่แอดมินเป็นนักกฎหมายและนักจิตวิทยา จึงอยากแชร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกฎหมายและผลเสียต่อการกระทำต่อเด็กในลักษณะดังกล่าว

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า "เด็ก" ก็มีสิทธิในความเป็นมนุษย์เหมือนๆกับผู้ใหญ่ ดังนั้นทุกคนจึงต้องเคารพสิทธิเด็กเช่นกันโดยเฉพาะสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของเด็ก เพราะสิทธิเด็กเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองผ่านกฎหมายทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิเด็กทั้งสิทธิในการมีชีวิต, สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง, สิทธิในด้านพัฒนาการและสิทธิในการมีส่วนร่วม

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ก็ให้การรับรองและคุ้มครองการปฏิบัติต่อเด็กให้มีความเหมาะสม เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และมีพัฒนาการที่เหมาะสม อันเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว รวมทั้งป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

ดังนั้น การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็ก

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม


หากจะพูดถึงข้อห้ามของผู้ปกครองตามที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ก็คือ (1) ห้ามทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน (2) ห้ามละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม (3) ห้ามจงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก (4) ห้ามปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก () ห้ามปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ มาตรา 25) และไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ก็ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ มาตรา 26(1))

ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการที่พ่อจับก้นจับพุงลูกสาวแม้กระทำด้วยความรักที่พ่อมีต่อลูกและลูกยินยอมนั้น ถามว่าเหมาะสมหรือไม่ หากมองในมุมของคนนอกครอบครัวก็คงต้องบอกว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม เพราะการแสดงออกซึ่งความรักของคนในครอบครัวควรมีขอบเขตที่ไม่เกินเลยไปถึงอวัยวะส่วนตัวของเด็ก ดังนั้น การแสดงความรักด้วยการกอด การหอมโดยเด็กยินยอมน่าจะอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมกว่าการจับต้องอวัยวะส่วนตัวของเด็ก

ในมุมมองของนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์หลายท่านก็เห็นตรงกันว่าการสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงภัยทางเพศเป็นสิ่งสำคัญ การสอนให้เด็กรู้จักและเข้าใจการแสดงความรู้สึกที่ดีและไม่ดี พร้อมๆกับการรู้จักอวัยวะในร่างกายตัวเองว่าการรักษาความปลอดภัยและขอบเขตการอนุญาตให้คนอื่นๆเข้าใกล้และสัมผัสอวัยวะแต่ละส่วนได้แค่ไหนเพียงใด แม้แต่คนใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ หรือคนในครอบครัวไม่มีสิทธิจับหรือสัมผัสอวัยวะปกปิดได้อย่างปกติยกเว้นกรณีเด็กป่วยหรืออยู่ในภาวะต้องการการดูแลเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องสอนเด็กให้เข้าใจและพ่อแม่ก็ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าพ่อแม่กระทำการที่ขอบเขตต่อร่างกายเด็กอาจทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีใครต่อใครสัมผัสร่างกายหรืออวัยวะปกปิดของตนเองได้ย่อมส่งผลร้ายต่อเด็กได้แน่นอนเพราะเด็กจะไม่รู้จักการปฏิเสธ ไม่รู้ขอบเขตที่เหมาะสม นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ทั้งจากผู้ใกล้ชิดและผู้อื่น

นอกจากนี้ประเด็นการโพสคลิปต่างๆของลูกลงในสื่อโซเชียลมีเดียก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิเด็กได้เช่นกัน หากเป็นคลิปที่ไม่เหมาะสม เช่น การจับก้นอาจจะส่งผลกระทบต่อเด็กได้ในอนาคตเมื่อเด็กโตขึ้นหรือเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นพอที่จะเข้าใจอะไรได้มากขึ้น

ดังนั้น การแสดงความรักต่อลูกซึ่งเป็นเด็กไม่ว่าจะเป็นลูกสาวหรือลูกชายก็แล้วแต่ พ่อแม่หรือคนในครอบครัวจึงต้องมองให้หลากหลายมุมและต้องระมัดระวังถึงขอบเขตความเหมาะสมด้วย ต้องคำนึงถึงสิทธิเด็กเป็นสำคัญ แม้เขาจะเป็นลูกก็ตาม เพราะพ่อแม่คือคนสำคัญที่สุดในการปกป้องคุ้มครองและให้ความรู้แก่เด็กถึงการดูแลตัวเอง การปกป้องตัวเองและการปฏิเสธการกระทำของผู้อื่นต่อเนื้อตัวร่างกายของเด็กซึ่งจะเป็นการดีที่สุดที่จะทำให้เด็กรู้จักภัยคุกคามทางเพศและสามารถปฏิเสธและปกป้องตัวเองได้



รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ขายของออนไลน์ ไม่แสดงราคา ให้สอบถาม Inbox ได้รึป่าว???
โดย admin advanced law - จันทร์, 16 สิงหาคม 2021, 01:04PM
 
inbox

รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> Information Operations : IO (ไอโอ คืออะไร)
โดย admin advanced law - จันทร์, 16 สิงหาคม 2021, 12:22PM
 
io

ขอบคุณข้อมูลจากศาลยุติธรรม


รูปภาพของadmin advanced law
ความรู้กฎหมายทั่วไป by อ.เกด, อ.พิชัย ไลน์ 0862310999 -> ประกาศ !! ถอน "กระท่อม" ออกจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5
โดย admin advanced law - พฤหัสบดี, 12 สิงหาคม 2021, 11:26AM
 
ประกาศ !! ถอน "กระท่อม" ออกจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564 ได้ประกาศยกเลิก "พืชกระท่อม" ออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 90 วันหลังประกาศในราชกิจจาฯ (ประกาศเมื่อ 26 พฤษภาคม 2564) จะมีผลเริ่มใช้บังคับในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564 มีผลบังคับใช้แล้วพืชกระท่อม ก็จะไม่ถือว่าเป็นยาเสพติดอีกต่อไป

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ที่มีการบริโภคพืชกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน จึงสมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ประชาชนทั่วไปสามารถปลูก บริโภคกระท่อมตามวิถีชาวบ้านได้ จะนำมาเคี้ยว นำมาต้มน้ำดื่มโดยไม่ผสมสารเสพติดอื่นใดย่อมทำได้ หรือจะซื้อจะขายใบกระท่อมภายในประเทศก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป

แต่หากมีการนำไปผสมสารเสพติดอื่นๆ ยังไงก็ยังเป็นความผิดอยู่ เช่น การนำน้ำกระท่อมไปผสมสารเสพติดอื่นที่มักเรียกกันว่าสูตรร 4 x 100 เป็นต้น
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์


หน้า: ()   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...19   ()