≤≤ สัญญาจ้างแรงงานซึ่งนายจ้างทำสัญญาจ้างจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
                                  สามารถกระทำได้ในขอบเขตที่เหมาะสม โดยมีระยะเวลาการจำกัดสิทธิพอสมควร อ่านต่อ....

                          ≤≤ ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่หมายเหตุนี้อยู่ในส่วนของความผิด
                                  ทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1) ที่นำไปใช้บังคับใน
                                  คดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เฉพาะข้อที่ว่าด้วย
                                  การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลนั้น ข้อสาระสำคัญอยู่ที่การกระทำของผู้ถูก
                                  กล่าวหาที่เป็นมูลเหตุให้ปรากฏว่า เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยจะต้องเกิดขึ้นใน
                                  บริเวณศาลอันได้แก่ ตัวอาคารศาลและบริเวณเขตพื้นที่ของศาล ตามธรรมดาแล้ว
                                  น่าจะเป็นภายในเขตรั้วของศาล ดังนั้น หากเกิดเหตุประพฤติตนไม่เรียบร้อยใน
                                  บริเวณห้องควบคุมผู้ต้องหา โรงอาหารหรือโรงรถศาลก็ถือว่าอยู่ในบริเวณเขตพื้นที่
                                  ศาล นอกจากนั้นแม้การประพฤติตนไม่เรียบร้อยจะเกิดขึ้นทั้งนอกบริเวณศาลและใน
                                  บริเวณศาล แต่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันมา ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล เช่น
                                  การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีและรับเงินทำที่บ้านผู้ถูกกล่าวหา แต่มีการทวงถามคืนเงิน
                                 ในศาลหลายครั้ง กระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินถือเป็น
                                  ส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว อ่านต่อ...

                                     ≤≤  หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83s/2552 การบรรยายฟ้อง
                                 ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน
                                      - ปัญหาว่าคำฟ้องในคดีอาญาจะต้องบรรยายรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้นตาม
                                 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมันบัญญัติหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในมาตรา 200
                                      - มาตรา 200 (เนื้อหาของคำฟ้อง)
                                        (1) “คำฟ้องต้องระบุถึงตัวผู้ถูกฟ้อง (den Ange่huldigten) (ตาม
                                 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมันจะใช้คำว่า der Be่huldigte ที่หมายถึง
                                 ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดซึ่งเป็นความหมายกว้าง เมื่อผู้กล่าวหาว่ากระทำ
                                 ความผิดถูกพนักงานอัยการยื่นคำฟ้องก็จะใช้คำว่า der Ange่huldigte ซึ่งน่าจะ
                                 แปลว่าผู้ถูกฟ้องและเมื่อศาลสั่งประทับฟ้องแล้วก็จะใช้คำว่า Angeklagter ซึ่งหมายถึง
                                 จำเลย) การกระทำที่ผู้ถูกฟ้องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด เวลาและสถานที่ที่กระทำ
                                 ความผิด องค์ประกอบความผิดตามกฎหมายและมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า
                                 การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด นอกจากนี้ในคำฟ้องต้องระบุถึงพยานหลักฐาน ศาล
                                 ที่พิจารณาคดีและทนายจำเลย “ในการระบุถึงพยานบุคคล หากเป็นกรณีตามมาตรา
                                 68 (1) ประโยคที่สอง (2) ประโยคที่หนึ่ง การระบุแต่เพียงที่อยู่ที่สามารถส่งหมาย
                                 เรียกพยานไปได้ก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ในกรณีที่พยานถูกระบุชื่อ ถ้าความ
                                 เป็นตัวตนของพยานไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนไม่ควรที่จะถูกเปิดเผย การ
                                 ระบุถึงที่อยู่ที่สามารถส่งหมายเรียกให้พยานได้ก็ถือว่าเป็นการเพียงพอ ในกรณีที่
                                 ที่อยู่ของพยานต้องถูกปกปิดเป็นความลับ ให้นำหลักที่กล่าวไว้ข้างต้นมาใช้บังคับ
                                 โดยอนุโลม
                                        (2) นอกจากนี้ในคำฟ้องต้องบรรยายให้เห็นถึงผลของการสืบสวน
                                 สอบสวนที่สำคัญไว้ด้วย กรณีจะไม่ต้องระบุไว้ก็ต่อเมื่อคำฟ้องได้ถูกยื่นต่อผู้พิพากษา
                                 นายเดียวในคดีอาญา อ่านต่อ....

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                             

กฎหมายสิ่งแวดล้อม โดย
ดร. ประพจน์  คล้ายสุบรรณ
ตุลาการศาลปกครองกลาง