≤≤ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ได้บัญญัติ
                                      เกี่ยวกับคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ต้องเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งว่าให้การ
                                      ว่าอย่างไร ปฏิเสธหรือยอมรับ และต้องชัดแจ้งเกี่ยวกับเหตุแห่งการอ้างนั้นด้วย ซึ่ง
                                      คำให้การที่ไม่ชัดแจ้งนั่นก็คือคำให้การที่ไม่แน่นอน ไม่ชี้ชัดไปในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งจะ
                                      มีผลว่าเป็นการยอมรับ ไม่ใช่ปฏิเสธ ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท แต่ถ้าหากมีความ
                                      ชัดแจ้งในเรื่องที่ปฏิเสธแต่ไม่ชัดแจ้งเกี่ยวกับเหตุผลที่สนับสนุน ก็ถือได้ว่าเกิดประเด็น
                                      ข้อพิพาทขึ้น เช่น ปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืม แต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าไม่ได้กู้เพราะเหตุใด โจทก์
                                      ยังต้องนำสืบพิสูจน์ตามประเด็นข้อพิพาท แต่จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้
                                      เพราะไม่ได้อ้างเหตุไว้.... หมายเหตุโดย อ.สุพิศ ปราณีตพลกรัง   อ่านต่อ....

                               ≤≤ พยานโดยตรงและพยานบอกเล่า (Direct and Hearsay) พยานโดยตรง คือ
                                      พยานบุคคลที่ได้รู้ข้อเท็จจริงจากประสาทของพยานเอง เช่น ได้ยินมากับหูด้วยตนเอง
                                      หรือได้เห็นมาด้วยตาตนเอง ส่วนพยานบอกเล่านั้น หมายถึง พยานที่ได้รับข้อเท็จจริง
                                      มาจากบุคคลอื่นแล้วนำมาเล่าให้ฟังอีกทอดหนึ่ง หลักของกฎหมายพยานหลักฐาน
                                      ถือว่าเป็นพยานชั้นสอง และตามหลักทั่วไปกฎหมายไม่ยอมรับฟังพยานบอกเล่า เพราะ
                                      ขัดกับหลักในเรื่องที่ศาลจะต้องฟังแต่พยานที่ดีที่สุด (Best evidence rule)... อ่านต่อ..

                                             ≤≤ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เป็นการเอาทรัพย์ไป เป็นความผิดสำเร็จ
                                      เมื่อทรัพย์เคลื่อนที่ การที่จำเลยเคลื่อนย้ายเตาอบไฟฟ้าออกจากจุดที่ผู้เสียหายเก็บหรือ
                                      วางทรัพย์ เป็นการเอาทรัพย์ไป จึงเป็นความผิดสำเร็จ การผ่านจุดชำระเงินโดยไม่ชำระเงิน
                                      เป็นเรื่ององค์ประกอบภายในที่แสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือไม่เท่านั้น  อ่านต่อ....

                                             ≤≤ ตามกฎหมายอาญาเยอรมัน ความเห็นฝ่ายข้างมากเห็นว่าการป้องกัน
                                       โดยชอบด้วยกฎหมายมีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญสองประการร่วมกันกล่าวคือ แนวคิด
                                       ในการป้องกันตนเอง (lndividual่hutz) และแนวคิดในการรักษาระเบียบของ
                                       กฎหมาย(Rechtsbewaehrung) ในส่วนของแนวคิดในการป้องกันตนเองมีความหมาย
                                       ว่าทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะใช้สิทธิป้องกันเพื่อคุ้มครองตนเองหรือ
                                       บุคคลอื่น ในส่วนของแนวคิดในการรักษาระเบียบของกฎหมายเป็นไปตามหลักการ
                                       ที่ Berner ได้ให้ไว้เมื่อร้อยปีก่อนที่ว่าความถูกต้องไม่จำต้องอ่อนข้อให้กับความ
                                       ไม่ถูกต้อง (daS Recht braucht dem Unrecht nicht zu weichen) เพราะระเบียบ
                                       ของกฎหมายย่อมไม่อาจที่จะคงอยู่ได้หากยอมจำนนกับความไม่ถูกต้อง  อ่านต่อ...

                                                                                  อ่านหน้าถัดไป....