≤≤ หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450s/2552 เรื่อง ความผิดหลายกรรมต่างกัน
                           - การที่จำเลยพาผู้เสียหายไป เพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ 1 วัน ก่อนข่มขืนกระทำ
                       ชำเรา เป็นการแสดงเจตนาส่วนหนึ่งของจำเลย โดยมีเหตุจูงใจที่จะนำตัวผู้เสียหายไปกักขังไว้เพื่อ
                       ข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่สำเร็จไปแล้วต่างหากจากการที่จำเลยข่มขืน
                       กระทำชำเรา เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่ออนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังกระทงหนึ่ง ฐานข่มขืน
                       กระทำชำเราอีกกระทงหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน  หมายเหตุโดย อ.อาคม รุ่งแจ้ง อ่านต่อ...

                              ≤≤ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 219 วรรคสอง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
                       มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการไม่รับคดีซึ่งข้อกฎหมายหรือ
                       ข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือฎีกาจะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณาพิพากษา พ.ศ. 2551 ซึ่งการที่
                       ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าวได้นั้น องค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาจะต้องตรวจสำนวนประชุมปรึกษากัน
                       เหมือนคดีที่ทำคำพิพากษาตามปกติและทำบันทึกความเห็นแสดงเหตุผลว่าฎีกาของโจทก์ไม่มีผลที่จะ
                       เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร แล้วลงชื่อองค์คณะทั้งสามคนไว้ด้วย หลังจากนั้นร่าง
                       คำสั่งและบันทึกความเห็นก็จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
                       เช่นเดียวกันกับคดีที่ทำคำพิพากษาตามปกติก่อนที่จะส่งไปอ่านให้คู่ความฟัง...... อ่านต่อ...

                ≤≤ ลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctive character) อาจกล่าวได้ว่า หมายถึงความเด่นความมีลักษณะ
                       พิเศษ ลักษณะเฉพาะของเครื่องหมายการค้า ซึ่งย่อมแตกต่างหรือตรงกันข้ามกับลักษณะสามัญธรรมดา
                       (generic) ตลอดจนไม่เป็นการพรรณนาหรือเล็งลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า (deriptive or suggestive)
                       ลักษณะบ่งเฉพาะเป็นอย่างไรนั้นกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้นิยามความหมายไว้เป็นพิเศษมีแต่เพียงตัวอย่าง
                       ในกรณีต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งภาพประดิษฐ์ด้วย.....อ่านต่อ

                            ≤≤ แม้จำเลยถูกจับทั้งสองคดีในวันเดียวกัน แต่วันถูกจับมิใช่วันกระทำความผิด เมื่อวันเวลา
                        กระทำความผิดในคดีก่อนและคดีนี้ทั้งในฐานลักทรัพย์และรับของโจรต่างกัน ทั้ง
                        ทรัพย์ที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนต่างรายกัน แม้คดีก่อนศาลชั้นต้นจะ
                        มีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้เป็น
                        การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำ อ่านต่อ...

                                                                     อ่านหน้าถัดไป.....