≤≤ ปัจจุบันได้มีการแก้ไข ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 28) เมื่อปี 2551 โดยมีบทบัญญัติเพิ่มเติม
                    มาตรา 233 วรรคสอง ว่า ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลย ย่อม
                    ใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
                                   บทบัญญัติมาตรา 233 วรรคสอง ดังกล่าวจึงกลับหลักการตามคำพิพากษา
                     ศาลฎีกาฉบับนี้ และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2532 (ประชุมใหญ่) แต่เนื่องจาก
                     บทบัญญัติมาตรา 233 วรรคสอง มีผลเป็นโทษแก่จำเลย ดังนั้น ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง
                     ในปัญหาว่าบทบัญญัติมาตรา 233 วรรคสอง จะมีผลเมื่อใดนั้น ผู้เขียนเห็นว่าควรจะมีผล
                     แต่เฉพาะการเบิกความของจำเลยหลังจากวันที่ ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 28) มีผลบังคับใช้คือวันที่
                     8 กุมภาพันธ์2551 หมายเหตุโดย อ.พรเพชร วิชิตชลชัย อ่านต่อ.....

                 ≤≤ ประเด็นเรื่องเครื่องหมายการค้า ว่า ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็น
                     เจ้าของหรือไม่ เพราะกรณีของโจทก์เป็นสินค้ากลุ่มคอมพิวเตอร์ โดยคำว่า INTEL เป็นคำประดิษฐ์
                     จากคำว่า “Integrated” ประกอบคำว่า “Electronics” ส่วนกรณีของอีกฝ่ายใช้กับสินค้าลิปสติก ซึ่ง
                     เป็นกรณีที่ห่างไกลกันมาก ซึ่งเหตุผลที่จะนำมาวินิจฉัยอยู่ตรงที่ว่า เมื่อเป็นเครื่องหมายการค้าที่มี
                     ชื่อเสียงแพร่หลาย เป็นที่รู้จักคุ้นเคยของบุคคลโดยทั่วไปแล้ว การนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
                     มาเป็นส่วนประกอบ ก็จะทำให้สาธารณชนนึกถึงเชื่อมโยงไปถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปด้วย
                     ดังนั้น จึงไม่ใช่พิจารณาเฉพาะความเป็นสินค้าต่างจำพวกกันเท่านั้น ต้องดูถึงสภาพของข้อเท็จจริงต่าง ๆ
                     และเงื่อนไขปัจจัยอื่นประกอบด้วย หมายเหตุโดย อ.สุพิศ ปราณีตพลกรัง อ่านต่อ....

                 ≤≤ มีข้อสังเกตว่า หากเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ซึ่งจับกุมจำเลยได้
                     ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้นำตัวจำเลยไปส่งให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจ
                     นครบาลวัดพระยาไกร และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรซึ่งมีอำนาจสอบสวน
                     แต่ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการสอบสวนด้วย กรณีเช่นนี้ คงต้องถือว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ เพราะ
                     ขณะที่จับได้นั้น ได้มีการ “พบ” การกระทำความผิดฐานนี้ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา
                     มาก่อนหน้านั้นแล้ว อำนาจรับผิดชอบในการสอบสวนจึงเป็นของท้องที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาเท่านั้น
                     หมายเหตุโดย อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ อ่านต่อ.....

 

                                                                         อ่านหน้าถัดไป...