พี่ขโมยเงินน้อง น้องขโมยรถพี่ ผลทางกฎหมายอาญาจะเป็นอย่างไร
กฎหมายอาญากำหนดไว้ว่า ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์, วิ่งราวทรัพย์,
ฉ้อโกง, ยักยอก, ทำให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก เป็นต้น ถ้าเป็นการกระทำที่พี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
กระทำต่อกัน แม้กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้
และนอกจากนี้ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ (ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 71 วรรคสอง)
โดยปกติแล้วความผิดฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวทรัพย์นั้นเป็นความผิดซึ่งยอมความไม่ได้ เพราะถือ
ว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดิน (เป็นความผิดที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากผู้
กระทำความผิดเป็นพี่หรือน้องที่ร่วมบิดามารดาเดียวกัน กฎหมายก็อนุโลมให้ว่าแม้ความผิดอาญาที่กระทำ
นั้นเป็นความที่ยอมความไม่ได้ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความกันได้ และศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย
กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
กฎหมายให้ประโยชน์เฉพาะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเท่านั้น (คือพี่น้องที่มีพ่อแม่เดียวกันเท่า
นั้น) ฉะนั้น หากเป็นเพียงพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้ เช่น อาจจะ
เป็นพี่น้องพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ หรือแม่เดียวกันแต่คนละพ่อ เช่นนี้ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ตามที่กฎหมาย
กำหนด ฉะนั้น มีความผิดและรับโทษเต็มๆ ตามกฎหมายกันเลยทีเดียวนะจ๊ะ
-
ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์