รูปภาพของadmin advanced law
กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2540 เขียนสัญญาไม่ครอบคลุมความรับผิดไว้ ฟ้องไม่ได้
โดย admin advanced law - อังคาร, 25 เมษายน 2023, 08:49AM
 
ข้อสังเกตจากคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้
ในการทำสัญญาต้องให้ผู้มีความรู้จัดทำสัญญาที่มีความละเอียด ชัดเจนและบังคับได้ครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กรณีตามคำพิพากษาฎีกานี้ เป็นกรณีจําเลยผิดสัญญาฯ แล้ว แต่ไม่ถือว่าเป็นการทําละเมิดต่อธนาคารตามป.พ.พ. มาตรา 420 เพราะในสัญญาไม่มีระบุว่าหากจําเลยผิดสัญญาจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นจํานวนเท่าใด จึงเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคารเพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่ง ไม่ใช่สัญญาที่จําเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารในกรณีทรัพย์สินถูกโจรกรรม ธนาคารและผู้รับช่วงสิทธิจึงไม่มีสิทธิฟ้องจําเลยเพื่อเรียกค่าเสียหายตามจํานวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6114/2540
จําเลยทําสัญญากับธนาคารรับเป็นผู้ประสานงานในการส่งข้อมูลของธนาคารจากเครื่องส่งสัญญาณไปยังสถานีตํารวจด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขอความช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เมื่อเครื่องส่งสัญญาณของจําเลยที่ติดตั้งไว้ที่ เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคารส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ของจําเลยเพราะถูก คนร้ายงัดทําลายแต่เจ้าหน้าที่ของจําเลยละเลยไม่แจ้งเหตุต่อไปยังสถานีตํารวจ เพื่อขอความ ช่วยเหลือ ถือว่าจําเลยผิดสัญญาแต่ไม่ถือว่าเป็นการทําละเมิดต่อธนาคารตามป.พ.พ. มาตรา 420 แต่สัญญาไม่มีระบุว่าหากจําเลยผิดสัญญาจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นจํานวนเท่าใด จึงเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคารเพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สิน ของธนาคารอีกทางหนึ่ง ไม่ใช่สัญญาที่จําเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารในกรณีทรัพย์สินถูกโจรกรรม ธนาคารไม่มีสิทธิฟ้องจําเลยเพื่อเรียกค่าเสียหายตามจํานวนเงินที่ถูกคน ร้ายลักไป โจทก์ซึ่งใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคารมาฟ้องเรียกให้จําเลยรับผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคแรกได้
-
ผู้หมายเหตุ
ดร.พิชัย โชติชัยพร (Notarial Services Attorney)
Tel./Line 0862310999
Advanced Legal Law Office
-
www.advancedlaw9.com
-