รูปภาพของadmin advanced law
การปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการใช้ "อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์" ติดตามตัว ((Electronic Monitoring : EM)
โดย admin advanced law - ศุกร์, 14 ธันวาคม 2018, 01:18PM
 
การปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการใช้ "อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์" ติดตามตัว ((Electronic Monitoring : EM)

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบ
คุมผู้กระทำผิดแทนการจำคุกในเรือนจำ ซึ่งจะประกอบด้วยตัวอุปกรณ์ส่งสัญญาณ มี
ลักษณะคล้ายนาฬิกาหรือสายรัดข้อมือข้อเท้า ตัวอุปกรณ์รับสัญญาณ และศูนย์ควบคุมกลาง
ที่ใช้ติดตามตัว เมื่อสวมใส่อุปกรณ์ที่ข้อมือ ข้อเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่นก็จะสามารถตรวจสอบ
การเดินทางของผู้สวมใส่ได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับ
การปล่อยตัวชั่วคราว โดยบัญญัติเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่
สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้

ซึ่งสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้
1.ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราว
หรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ หรือ
ในกรณีที่ผู้นั้นยินยอมจะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจ
สอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัย
อันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (มาตรา 108 วรรคสาม)

2.ถ้าผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ แม้ผู้นั้นยินยอม จะสั่งให้ใช้
อุปกรณ์ดังกล่าวได้ต่อเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุ
สมควรประการอื่น (มาตรา 108 วรรคสาม)

3.ในกรณีที่มีคำสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดตามมาตรา 108
วรรคสาม กับผู้ต้องหาหรือจำเลยใด ถ้าปรากฏว่าอุปกรณ์ดังกล่าวถูกทำลายหรือทำให้ใช้การ
ไม่ได้ไม่ว่าโดยวิธีใดให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นหนีหรือจะหลบหนี (มาตรา 117
วรรคสอง)

การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวก็เพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่สามารถหาหลัก
ประกันได้เพียงพอมีโอกาสได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวมากขึ้นหากยินยอมให้เจ้าพนักงานซึ่ง
มีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (เช่น กำไลติดตามตัว)
หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางได้

การนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้ถือเป็นข้อดีที่ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลนัก
โทษที่ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดร้ายแรง และยังทำให้เขาได้กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวได้
กลับไปทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งการใช้อุปกรณ์ติดตามตัวนี้ได้มีการนำร่องใช้แล้ว
กับคดีเด็กแว๊นในการคุมประพฤติ โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้นำมาทดลอง
ใช้กับกลุ่มเด็กที่กระทำความผิดใน พ.ร.บ.จราจรฯ

นอกจากนี้กรมราชทัณฑ์จะขยายผลเพื่อนำไปใช้กับผู้ต้องขังในอีกหลายกลุ่ม เช่น
กลุ่มผู้ต้องขังที่จะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก เช่น เอดส์ระยะสุดท้าย, มะเร็งระยะสุดท้าย,
ไตวายเรื้อรัง เป็นต้น หรือกลุ่มที่เจ็บป่วยเรื้อรังต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น ต้องฟอกไต หรือ
กลุ่มที่มีเหตุอันควรได้รับการทุเลาการบังคับ เช่น วิกลจริต หรือตั้งครรภ์หรือเพิ่งคลอดบุตร
เป็นต้น

แนวทางการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ ถือเป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งของกระบวนการ
ยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย และวิธีการดังกล่าวก็เป็นที่ยอมรับและมีใช้กันอยู่ในต่าง
ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศบราซิล ประเทศอิสราเอล เป็นต้น